แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ศึกษาศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ และศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ หมู่ 6 ตำบลท่าก้อน อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร จำนวน 20 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ หมู่ที่ 6 มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 20 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสนทนากลุ่ม การสังเกต และการสัมภาษณ์แบบ
ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า กลุ่มองค์กรในชุมชน มีจำนวน 15 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ วัดส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มเกษตรพอเพียงลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการเกษตรแบบพอเพียงฐานลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ของชุมชน กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มกองทุนเงินล้าน กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) กลุ่มกองทุนแม่ กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจาน กลุ่มทอผ้าย้อมคราม กลุ่มสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก กลุ่มปลูกมันสำปะหลัง กลุ่มปลูกยางพารา กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (น้ำหมัก) และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ชุมชนมีจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มการจัดการขยะในชุมชน กลุ่มการจัดการเรื่องปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน กิจกรรมเข้าวัดทำวัตรเย็นร่วมกับพระสงฆ์ และกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์หมู่บ้าน และการสร้างและพัฒนานวัตกรรมของชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตน้ำยาล้างจาน กลุ่มผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ (น้ำหมักขี้หมู) กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มผลิตอาหารหมักหมู กลุ่มทอผ้าย้อมคราม และกลุ่มสานตะกร้าด้วยเส้นพลาสติก 2) ศักยภาพด้านการสร้างเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า กลุ่มทอผ้าย้อมครามเป็นแหล่งสร้างอาชีพให้กลุ่มเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน และชุมชน ซึ่งสามารถได้ ดังนี้ 2.1) การพัฒนาเอกลักษณ์สินค้าของกลุ่ม พบว่า กลุ่มมีความต้องการในการสร้างเอกลักษณ์สินค้าที่เป็นของกลุ่มเอง ซึ่งในการสร้างเอกลักษณ์จะต้องได้มาซึ่งการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมปฏิบัติ และจะต้องเป็นเอกลักษณ์ที่ได้มาจากประวัติของหมู่บ้าน โดยในกระบวนการพัฒนาเอกลักษณ์ สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันคิด และได้มีการเล่าถึงเรื่องราวความเป็นมาของหมู่บ้าน ว่าหมู่บ้านชื่อ “บ้านโพนก่อ” ดังนั้น เอกลักษณ์ที่จะนำมาทอเป็นลายผ้าจะต้องมีความสำคัญ และสอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน นอกจากการคิดค้นเพื่อหาเอกลักษณ์ของกลุ่มแล้ว สมาชิกยังมีการร่วมกันคิดค้นชื่อลายที่จะนำมาตั้งชื่อโดยให้ทุกคนเขียนชื่อลายที่จะนำมาใช้ในการเรียกลายผ้าที่จะนำมาทอเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม โดยสมาชิกมีการสรุปชื่อลายผ้าได้ว่า “ลายหมากก่อ” ซึ่งหมากก่อจะได้มาจากชื่อหมู่บ้านคือ บ้านโพนก่อ และ 2.2) การพัฒนาศักยภาพให้กับสมาชิก พบว่า กลุ่มสมาชิกมีศักยภาพในการทอผ้าค่อนข้างสูง และสมาชิกมีการแปรรูปผ้าจากเดิมที่มีการทอผ้าพันคอ และผ้าคลุมไหล่ เป็นการทอผ้าเพื่อนำมาตัดเย็บเสื้อและกระโปรง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ แต่ผ้าที่ทอนั้นส่วนใหญ่เป็นลายเดิม ๆ ที่ชุมชนทั่วไปก็มีการทอ ดังนั้น กลุ่มมีความคิดเห็นร่วมกันในการที่จะพัฒนาลายผ้าขึ้นมาใหม่ โดยจากการจัดเวทีในวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2560 ส่งผลให้ชุมชนได้ร่วมกันคิดค้นลายผ้าที่มาจากประวัติของชุนชนได้แก่ “ลายหมากก่อ” โดยนักวิจัยได้ชุมชนได้ร่วมกันออกแบบ และให้สมาชิกกลุ่มทำการมัดหมี่ลายหมากก่อขึ้นมาเพื่อนำมาทอ และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพในสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านโพนก่อ พบว่า แนวทางในการพัฒนาศักยภาพชุมชน มีดังนี้ 3.1) การศึกษาบริบทของชุมชนที่จะนำมาสร้างเป็นเอกลักษณ์ 3.2) จัดเวทีเพื่อค้นหาความต้องการที่แท้จริงที่ได้จากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน 3.3) การตัดสินใจเลือกรูปแบบที่จะนำสร้างเป็นเอกลักษณ์สินค้า 3.4) การนำรูปแบบที่เลือกไปสร้างเป็นโมเดลตัวอย่าง 3.5) การพัฒนาเอกลักษณ์ด้วยการนำโมเดลตัวอย่างที่ได้ไปทอลงในผืนผ้า และ 3.6) การขอจดทะเบียนสิทธิบัตรการออกแบบลายผ้า “ลายหมากก่อ”
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัย
หาดใหญ่. 7 : 1326 - 1336.
ตรีวิทย์ แพทย์เพียร. (2557). “การออกแบบสัญลักษณ์แสดงเอกลักษณ์องค์กรสำหรับศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำ ตำบลเขาย้อย
จังหวัดเพชรบุรี.” วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์. ประจำเดือนมกราคม - มิถุนายน 2557. 16(1) : 1 - 14.
พิมพ์ลภัทร ศรีมณฑา และพัชร พิลึก. (2554). ภาพลักษณ์ตราสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในเขตจังหวัดนนทบุรี.
รายงานการวิจัย. นนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์.
พิสมัย อาวะกุลพาณิชย์ และคนธาภรณ์ เมียร์แมน. (2555). การเพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ล้านนาด้วย
การออกแบบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา. รายงานการวิจัย คณะวิจิตรศิลป์. เชียงใหม่ :
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไพบูลย์ บูรณสันติ. (2559). การพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ
ด้านการท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันอย่างยั่งยืน. แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด
พ.ศ.2559 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง). ตรัง : สำนักงานพัฒนาชุมชน
จังหวัดตรัง.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุพรรณ สมไทย และคณะ. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบ้านโดยแนวคิดจากวัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ.
รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุวนาถ ทองสองยอด. (2560). “ภาพลักษณ์ตราผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) จังหวัดปัตตานี.” วารสารวิทยบริการ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. มกราคม-เมษายน 2560. 28(1) : 14 - 24.
อริณ เมืองสมบัติ. (2554). “ความสำเร็จในการบริหารจัดการอาชีพกลุ่มอาชีพทำผ้าบาติกเทศบาล ตำบลหนองจอก.”
Local Administration Journal. ประจำเดือน เมษายน-มิถุนายน 2554. 4(2) : 30 - 42.