ปัจจัยด้านการคัดสรรสมาชิกที่ส่งผลต่อการพัฒนาพันธมิตรธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

สิทธิพร แจ่มเที่ยงตรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านการคัดสรรสมาชิกที่ส่งผลต่อการพัฒนาพันธมิตรธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต โดยประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารของสถานประกอบการด้านสปาในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2556 จำนวนทั้งสิ้น 81 แห่ง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล


            ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Regression Analysis) โดยพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านการคัดสรรสมาชิกที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กรพันธมิตรธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ต พบว่า องค์ประกอบทางด้านขีดความสามารถ (Capability) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาพันธมิตรทางธุรกิจสปาในจังหวัดภูเก็ตมากที่สุด รองลงมา คือ องค์ประกอบทางด้านความเข้ากันได้ (Compatibility) โดยมีแนวทางในการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดตั้งในลักษณะขององค์กรกลางของเหล่าพันธมิตรที่เป็นเอกเทศ เพื่อเป็นแกนหลักของเหล่าสมาชิกในการสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนกลาง และ 2) การพิจารณาถึงความหลากหลายและศักยภาพขององค์กรและมีการประเมินถึงจุดอ่อนของสมาชิกก่อนที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกพันธมิตรอย่างเป็นทางการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2555. ธุรกิจบริการสุขภาพ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://203.157.7.46/display_document.jsp?id=D00000000403, สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2556.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2556ก. รายชื่อสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://spa.hss.moph.go.th, สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557.
บริษัท ดีเอฟ มาร์เก็ตเพลส จำกัด. 2560. เซ้งสปา. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.kaidee.com/browse?เซ้งสปา, สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. 2555. สปาไทยและการท่องเที่ยวกับผลกระทบเมื่อเปิด AEC สู่ประชาคมอาเซียน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.thai-aec.com/99, สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2557.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). 2554ก. แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2555-2559). (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.sme.go.th/SiteCollectionDocuments/แผนการส่งเสริมSMEs/03/แผนแม่บทฯ%20ฉบับที่%203.pdf, สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2556.
Bergquist, W. H.; Betwee, J. and Meuel, D. 1995. Building Strategic Relationships: How to Extend Your Organization's Reach Through Partnerships, Alliances, and Joint Ventures. San Francisco, Calif.: Jossey-Bass.
Collins, T. M. and Doorley T. L., III. 1991. Teaming up for the 90s: A Guide to International Joint Ventures and Strategic Alliances. Homewood, ILL.: Business One Irwin.
Daniels, J. D. and Magill, S. 1993. Protection of Competitive Advantage in US/Asia-Pacific JVs from High-Technology Industries. In Multinational Strategic Alliances. Refik Culpan, ed. New York: International Business Press.
Pp. 167-182.
Murray, A. I. and Siehl, C. 1989. Joint Ventures and other Alliances: Creating a Successful Cooperative Linkage. Morristown, N.J.: Financial Executive Research Foundation.
Phukete Gazette. 1998. Demand Fuels Spa Expansion. (Online). from http://www.phuketgazette.net/phuket-news/Demand-Fuels-Spa-Expansion/197, Retrieved June 17th, 2015.