การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ชลาวัล วรรณทอง
ณัฐพล วงษ์รัมย์
ณัฐวุฒิ ทะนันไธสง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ในจังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อสร้างเว็บแอพพลิเคชั่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์  โดยผู้วิจัยได้เลือกแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดบุรีรัมย์จำนวน 22 แห่ง  โดยได้ประยุกต์แนวคิดวงจรพัฒนาระบบ (SDLC) มาใช้ในการจัดทำข้อมูลและพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ที่สามารถรวบรวมและจัดการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวก  ร่วมกับการสร้างเว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) ที่จะสามารถบูรณาการข้อมูลการท่องเที่ยวด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลการศึกษาพบว่า ได้ฐานข้อมูลการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ที่มาจากความต้องการของนักท่องเที่ยว  ทั้งข้อมูลคำบรรยายแหล่งท่องเที่ยว ข้อมูลภาพถ่ายมุมมองต่างๆ ของแหล่งท่องเที่ยว  และจัดทำคลิปวิดีโอแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 22 แห่ง และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ร้านอาหาร 120 ร้าน  โรงแรมที่พัก  93 แห่ง และสถานีบริการน้ำมัน 113 แห่ง  จากนั้นพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ใช้งานผ่านโปรแกรม Web Browser ที่สามารถทำงานได้ทั้งในคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์สมาร์ทโฟน โดยเว็บแอพพลิเคชั่น แสดงข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วย ภาพถ่ายของแหล่งท่องเที่ยว  มีหน้าแผนที่จะแสดงข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นตำแหน่ง บนแผนที่ฐานจาก Google Map สามารถระบุตำแหน่งของผู้ใช้งาน ทำให้สามารถค้นหาตำแหน่งของข้อมูลในรัศมีที่ต้องการ คำนวณเส้นทางการเดินทางไปยังตำแหน่งที่ค้นหา จากการสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ใช้เว็บแอพพลิเคชั่น จำนวน 30 คน พบว่า นักท่องเที่ยวความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด

Article Details

How to Cite
วรรณทอง ช., วงษ์รัมย์ ณ., & ทะนันไธสง ณ. (2019). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 14(1), 51–61. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/181324
บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). จับตามองท่องเที่ยวไทย. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_63.html, สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2558.
ดำรง โค่นถอน และฐิติวรดา ปุยอรุณ. (2557). ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ มั่นใจพร้อมรับการท่องเที่ยวและการเติบโตทางเศรษฐกิจ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC57092900 10114, สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558.
กรมการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ.2558 – 2560. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์. (2560). ข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.mots.go.th/province_new/ewt/ buriram/ewt_news.php?nid=384, สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559.
.จุมพล วิเชียรศิลป์ และคณะ. (2559). การประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัยทุนงบประมาณแผ่นดิน, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ศศิพิมพ์ ปิ่นประยูร. (2558). แอพพลิเคชั่นแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาฬสินธุ์ บน
ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. คณะเทคโนโลยีสังคม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.
พิรภพ จันทร์แสนตอ. (2557). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ สำหรับอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการจัดการ. 7, 106-116.