ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลอง และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างหลังการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการติดตามผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีคะแนนการมีวินัยในตนเองระดับต่ำ และระดับปานกลาง และมีความสมัครใจที่จะเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 16 คน โดยทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 8 คนและกลุ่มควบคุม 8 คน คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดการมีวินัยในตนเองและโปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย คอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ สถิติ t–test for Independent samples และสถิติ t–test for Dependent samples
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองมีคะแนนการมีวินัยในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้เข้าร่วมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมหลังการทดลองมีคะแนนการมีวินัยในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้เข้าร่วมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมมีคะแนนการมีวินัยในตนเองภายหลังการให้การปรึกษาและในระยะติดตามผล 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน
คำสำคัญ : การปรึกษาแบบกลุ่ม, การเรียนรู้ทางปัญญาสังคม, การมีวินัยในตนเอง, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กิดานันท์ ชำนาญเวช. (2551). การปรึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ชญานิษฎ์ สุระเสนา. (2559). การให้คำปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาทางสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธิดารัตน์ ธนะคำดี. (2552). การพัฒนาแบบวัดการมีวินัยในตนเองสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2555, 1 กรกฎาคม). วินัยในตนเองและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องวารสารการวัดผลการศึกษา, 17(1), หน้า 3.
บุญศรี ไพรัตน์. (2547). จิตวิทยาและจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา.
พรพรรณ เกตุทอง. (2554). ผลการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฏีเกสตัลท์ที่มีต่อการรับบรู้ภาวะสุขภาพตามแนวคิดของเพนเดอร์ (Pender) ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ศูนย์บริการสาธารณสุข 66 สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มาลิณี จุโฑปะมา. (2552). จิตวิทยาการแนะแนว. บุรีรัมย์ : เรวัตการพิมพ์.
วัชรี ทรัพย์มี. (2550). กระบวนการปรึกษา ขั้นตอนสัมพันธภาพ ทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). คู่มือการสร้างคนให้มีวินัย รู้หน้าที่. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริกร สินสม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพิ้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุเทพ ธรรมะตระกูล. (2558). รูปแบบการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อพัฒนาพฤติกรรมเชิงจริยธรรมด้านความรับผิดชอบของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการปรึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อดิศร บาลโสง. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาและแนวคิดการวางแผนยุทธศาสตร์ชีวิต เพื่อเสริมสร้างการกำกับตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสุขศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัญชิสา สุรีย์แสง. (2553). การใช้กิจกรรมพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนอรุณประดิษฐ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อัศนีย์ ณ. คีรี. (2558). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Corey, G. (2012). Theory and practice of group counseling (8th ed.). Belmont, CA : Brooks/Cole, Cengage Learning.