การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Stringer
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Stringer มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2.) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3.) สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบุญวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 31 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมภาษณ์ เทคนิคการสนทนากลุ่ม ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ คือ มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการฝึกให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์ แยกแยะ สิ่งไหนถูกสิ่งไหนผิด คัดเลือกบทอ่านแต่ละประเภท เช่น นิตยสาร หนังสือพิมพ์ บทความต่าง ๆ มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย จัดเนื้อหาตามความสนใจของนักเรียน มีการจัดกลุ่มนักเรียนเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Stringer เริ่มจาก 1) การพินิจพิเคราะห์ (Look) 2) การคิดวิเคราะห์ (Think) และ 3) การปฏิบัติการ (Act)
- ผลการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
2.1 นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.98 คะแนน จากคะแนนเต็ม 50 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 76.14 นักเรียนมีคะแนนความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.34 หรือคิดเป็นร้อยละ 26.91 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
2.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่ 1. อยู่บนฐานเดียวกันจะทำให้ได้คำตอบร่วมกัน 2. ขจัดความกลัว จะพบความสำเร็จ 3. รู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ก้าวด้วยตนเอง และ 4. ทวนซ้ำ ย้ำคิด
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ.
3. ทันสมัย ทิพย์นม. (2557). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนหนองทุ่มวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
4. ทัศนีย์ พลแก้ว. (2551). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
5. นิภาพร นุเสน. (2554). การอ่าน. ลำปาง : มหาวิทยาลัยลำปาง.
6. บุญรอด โชติวชิรา. (2547). ผลการใช้กิจกรรมการอ่านกว้างขวางที่มีต่อความสามารถในการเขียนและเจตคติต่อการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. พรรณี ยาคล้าย. (2545). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนศรีธนาพาณิชยการเทคโนโลยีเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
8. ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานราชบัณฑิตยสถาน.
9. รุ่งทิวา ชมชื่นจิตร์. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยใช้เนื้อหาเชิงวิชาการของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. Ghadessy, M. (1998). Word Lists and Materials Preparation : A New
Approach, English Teachings Forum. 17 (1), 24-27.
11. Stewick, Earl W. (1972). Language Learning Teaching and Learning English. London : Longman.