การใช้การสอนแบบโฟนิกส์ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษในหน่วยการเรียนรู้เรื่อง “Let’s Learn English”สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

มลิวัล แสงชารี
ยาใจ พงษ์บริบุรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การสอนแบบโฟนิกส์ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตอกแป้น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561  จำนวน  6 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ใช้ 3 วงจรปฏิบัติการ ( วงจรที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-2 ,วงจรที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3-4 และวงจรที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5-6 )  เครื่องมือที่ใช้การในวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จำนวน 6แผน 2) เครื่องมือที่สะท้อนผลการปฏิบัติได้แก่แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร ใบความรู้และใบงาน แบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน  แบบบันทึกหลังสอนและ3) เครื่องมือสรุปผลการจัดการเรียนรู้คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษแบ่งเป็น 2 ตอน ๆ ที่ 1เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.43 – 0.85 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.01-0.71 และมีค่าเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.70  และตอนที่ 2 เป็นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 10 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย  ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปโดยใช้การบรรยายเชิงพรรณนาความ


                   ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ นักเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 72.28 จากร้อยละ 83.33 และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75.00 จากร้อยละ 83.33  ข้อสังเกตจากการวิจัยมีว่า เมื่อครูกระตุ้นให้นักเรียนมีความตระหนักในโฟนิกส์ (ความสามารถในการได้ยินและการออกเสียง) จะช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเสียงที่ได้ยินและวิธีที่จะเขียนโดยผสมเสียงออกมาเป็นคำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

2. จรัสสี สีแสด.(2555). ผลการใช้หลักการซินตีติกโฟนิกส์ในการฝึกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ค้นคว้าอิสระ , มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

3.จักรพงษ์ สายทองติ่ง. (2552). พัฒนาการของการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ. ปราจีนบุรี : ศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านการสอน เครือข่ายวิจัยโรงเรียนสายปัญญา.

4.จิราภรณ์ เสืออินทร์. (2557). การพัฒนาทักษะความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยการสอนแบบโฟนิกส์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบุญคุ้มราษฎร์บำรุง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, วิทยาลัยครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

5. จีรนันท์ เมฆวงษ์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ด้วยวิธีการสอนแบบโฟนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6.ดวงใจ ตั้งสง่า. (2556). ชวนลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตอนโฟนิกส์คืออะไร ทำไมต้องเรียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://taamkru.com/th. (วันที่ค้นข้อมูล 30 มิถุนายน 2561).

7. ธาริณี อุณาพรม. (2554). การเปรียบเทียบการอ่านออกเสียงและเขียนสะกดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้หลักการสอนแบบโฟนิกส์ผสมผสานกับการสอนภาษาแบบองค์รวมกับการ สอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

8. ยาใจ พงษ์บริบูรณ์. (2537). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research).
รูปแบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน.เอกสารประกอบคำบรรยาย.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9. รัชนีโรจน์ กุลธำรง. (2547). วิธีสอนการออกเสียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

10. โรงเรียนบ้านตอกแป้น. (2556). หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. ฉบับ ปรับปรุง ครั้งที่ 2/2556.

11. วนิดา โนนคำ. (2554). ผลการใช้วิธีการสอนแบบโฟนิกส์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีปัญหาในการเรียนรู้โรงเรียนศรี จันทร์วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

12. Dahl, K.,&Scharer,P. (1999). Phonics teaching and learning in whole language classroom.

13. Iveyetal. (2000).Exploring literacy balance: Iterations in a second-grade and sixth-grade Classroom. Reading Research and Instruction,39(4),291-309.

14. Morrison, I. E. (1968).Teaching reading in the elementary school. New York: The Ronald Press.