อิทธิพลนิทานไทยเรื่องแก้วหน้าม้าที่มีต่อนิยายจีนแปลงเรื่องเจ็งฮองเฮา

Main Article Content

พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบโครงเรื่อง ลักษณะตัวละครเอกและตัวละครรองฝ่ายร้าย  ระหว่างนิทานเรื่องแก้วหน้าม้ากับนิยายเรื่องเจ็งฮองเฮา เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า เนื้อเรื่องนิทานไทยแก้วหน้าม้ามีอิทธิพลต่อการแต่งนิยายจีนเรื่องเจ็งฮองเฮา ซึ่งแต่งโดยนักประพันธ์ไทย   ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบส่วนที่เหมือนกันมี 3 ประการคือ 1) โครงเรื่อง ได้แก่ โครงเรื่องใหญ่ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างเมือง  2) โครงเรื่องย่อยซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างตัวละครเอกหญิงกับตัวละครเอกชาย ความขัดแย้งระหว่างตัวละครเอกหญิงกับตัวละครรองหญิงและชายฝ่ายร้าย  3) ลักษณะเด่นและอุปนิสัยของตัวละครเอกทั้งหญิงและชาย ตัวละครรองฝ่ายร้าย มีส่วนที่ต่าง 1 ประการคือ จำนวนตัวละครรองหญิงฝ่ายร้ายที่เป็นชายาตัวละครเอกชายในเรื่องแก้วหน้ามีเพียงคนเดียว  ส่วนเรื่องเจ็งฮองเฮามี 4 คน ตัวละครรองชายฝ่ายร้ายที่เป็นปรปักษ์กับตัวละครเอกหญิงในเรื่องแก้วหน้าม้าเป็นยักษ์ ส่วนเรื่องเจ็งฮองเฮาเป็นเต้าหยินหรือนักบวช จึงอนุมานได้ว่า ผู้แต่งนิยายจีนเรื่องเจ็งฮองเฮาน่าจะได้รับอิทธิพลบางประการมาจากนิทานไทยเรื่องแก้วหน้าม้า ส่วนที่ต่างน่าจะสืบมาจากเรื่องเจ็งฮองเฮามีเค้าโครงเรื่องและเนื้อหาบางประการที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมแปลจีนเรื่องเลียดก๊กและห้องสิน

Article Details

How to Cite
อนันต์ศิริวัฒน์ พ. (2018). อิทธิพลนิทานไทยเรื่องแก้วหน้าม้าที่มีต่อนิยายจีนแปลงเรื่องเจ็งฮองเฮา. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 13(2), 95–106. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/164088
บท
บทความวิจัย

References

1. กรมศิลปากร. (2544). บทละครนอกเรื่องแก้วหน้าม้า. กรุงเทพฯ : จงเจริญการพิมพ์.

2. กรมหมื่นนเรศโยธี. (2518). เลียดก๊ก. กรุงเทพฯ: ศิลปาบรรณาคาร.

3. ตรีศิลป์ บุญขจร. (2553 ). ด้วยแสงแห่งวรรณคดีเรียบเทียบ วรรณคดีเปรียบเทียบไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์วรรณคดีศึกษา คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ถาวร สิกขโกศล.(2550). เจ็งฮองเฮา. เล่มที่ 1-4. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์.

5. ปร.(นามแฝงของประกอบ โชประการ). (2550). เจ็งฮองเฮา. เล่มที่ 1-4. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท สร้างสรรค์บุ๊คส์.

6. พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2557). อิทธิพลวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องห้องสินต่อวรรณกรรมประเภทนิทานเรื่อง โกมินทร์. วารสารวารสารมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร .11(2), 37-55.

7. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2531). อิทธิพลวรรณกรรมต่างประเทศที่มีต่อวรรณกรรมไทย.กรุงเทพฯ : ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

8. สี่ว์จ้งหลิน. (2506). ห้องสินสถาปนาเทวดาจีน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์.

9. วิเชียร เกษประทุม. (2551). เล่าเรื่องแก้วหน้าม้า. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.

10. อุทัย สินธุสาร. (2521). สารานุกรมไทย. เล่มที่ 5. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อาศรมศิลป์และศาสตร์.