รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาตำบล บ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในวัดและชุมชนตำบลบ้านปรือ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อเสนอรูแปบบการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นในวัดและชุมชน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักพุทธธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ใช้หลักภาวนา 4 คือ 1) กายภาวนา เป็นการบริหารกาย ด้วยการเดินออกกำลังกาย กวาดลานบ้าน และรดน้ำผักสวนครัว ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดี 2) สีลภาวนา การฝึกอบรมตนเองให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นยื่นมือช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยหยิบยื่นน้ำใจไมตรีต่อเพื่อนบ้านด้วยความเต็มใจ 3) สมาธิภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย มีเมตตากรุณา ขยันหมั่นเพียร อดทนมีสมาธิ และสดชื่น เบิกบาน เป็นสุขผ่องใส มีจิตใจที่ดี มีสุขภาพจิตที่แจ่มใส และ 4) ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมปัญญาให้รู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง รู้เท่าทันเห็นโลกและสังคมปัจจุบัน ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์แล้วถ่ายทอดสืบต่อกันมา โดยการใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ การใช้หมากพลูเคี้ยวเป่ารักษาพิษไข้ ที่เกิดจากฝี เริม งูสวัด โรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้สูงอายุส่วนมากจะใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรค
- กระบวนการพัฒนาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ ในวัดและชุมชนตำบลบ้านปรือ นั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร่วมจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนากับทางวัดเพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสผ่อนคลาย และมีส่วนร่วมในกิจกรรมบ่อย ๆ เช่นการออกกำลังกาย การนวดผ่อนคลาย การร้องเพลง และการฟ้อนรำ จนสังเกตเห็นว่ามีการยิ้มแย้มแจ่มใส มีความสนุกสนานเพลิดเพลินกับเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
3. รูปแบบการพัฒนาสุขภาพจิต ทานอาหารพอประมาณ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วมในชุมชน การทำบุญ คบเพื่อนบ้านที่ดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2525). แผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2525-2544. กรุงเทพมหานคร : สหกรณ์กลาโหม.
3. กรมประชาสงเคราะห์. (2528). ปัญหาแบะความต้องการของผู้สูงอายุ ในชุมชนดินแดง. กรุงเทพมหานคร : กองสวัสดิการสงเคราะห์.
4. กฤษณา บูรณะพงศ์. (2540). ผู้สูงอายุกับการขัดเกลาทางสังคมในครอบครัวในการสืบทอดคุณธรรมแก่เยาวชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. กัลป์ยานี ปฏิมาพรเทพ. (2548). รากแก้วแดนใต้ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
6. เกษม ตันติผลาชีวะ และกุลยา ตันติผลาชีวะ. (2528). การรักษาสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ์.
7. จันทิมา จารณศรี. (2539). สุขภาพจิตผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
8. เดชา เส็งเมือง. (2539). พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
9.นายภิรมย์ เจริญผล. (2553). ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ใช้ในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา ผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
10. บรรลุ ศิริพานิช. (2543). 20 ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คบไฟ.
11. ปรีชา อุปโยคินและคณะ. (2541). ไม้ใกล้ฝั่ง : สถานภาพและบทบาทผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์.
12.ฝน แสงสิงแก้ว. (2532). เรื่องของสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อักษรไทย.
13.พระครูใบฎีกาโสภา กิจฺจสาโร (จันทร์เพ็ง). (2553). การประยุกตหลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัย ในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
14. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). ธรรมะสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา.
15. พระพิจิตธรรมพาที (ชัยวัฒน์ ธมฺมวณฺโณ). (2536). แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
16. พุทธทาสภิกขุ. คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. (2535). กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.
17. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
18. ยศ สันตสมบัติ. (2540). ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์นพบุรีการพิมพ์.
19. ฤตินันท์ นันทธีโร. (2543). บทบาทของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
20. เสรี พงศ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : หมู่บ้าน.
21. เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2546). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์.