กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของนักท่องเที่ยวในงานเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นรีนุช ยุวดีนิเวศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยกุลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อการสร้างความสนใจเดินทางท่องเที่ยวเทศกาลแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 400 ราย และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ การทดสอบสถิติ t และ f


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาพรวมของปัจจัยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวแปร พบว่า ตัวแปรที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการโฆษณา รองลงมา คือ ด้านการประชาสัมพันธ์ และ ด้านการขายโดยพนักงานขาย ตามลำดับ

  2. ภาพรวมของระดับการศึกษาและอาชีพ ที่ต่างกันจะส่งผลต่อปัจจัยกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบบูรณากรเพื่อสร้างความสนใจในการท่องเที่ยวงานแห่เทียนจังหวัดอุบลราชธานี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการท่องเที่ยว. (2558). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2558 (จำแนกตามภูมิภาค), เข้าถึงได้จาก https://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25767. (1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 )

2. ชลธิชา คำประเทศ. (2556). พฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการของกลุ่มเบบี้บูมเมือร์ที่ร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2(2), 14 – 24.

3.ทองใบ สุดชารี. (2549). การวิจัยธุรกิจ ปฏิบัติการวิจัยนอกเหนือจากตำรา. อุบลราชธานี: คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

4. ไทยรัฐออนไลน์. (2559). อลังการ อุบลฯ เปิดงาน 115 ปีเทศกาลแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2559, เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/665077. (1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 )

5. ธรรมนูญ แย้มนาก. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของการซื้อสลากออมสินของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาดินแดง, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2(2), 25 – 34.

6. สิริรัตน์ ปิติพัฒนพงศ์. (2557). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อรถยนต์ที่ผลิตมาจากประเทศจีนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล: กรณีศึกษารถยนต์ยีห้อเฌอรี, วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(1), 436 – 457.

7. Armstrong, G., Adam, S., Denize, S., and Kotler, P. (2012). Principles of Marketing (5th edition). Sydney: Pearson Education,

8. Kotler,P., & Armstrong, G. (2013). Principles of Marketing (15th edition). Sydney: Pearson Prentice Hall.