รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ ในเขตพื้นที่ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

อรทัย หนูแก้ว
โชสิตา ลํ่าสัน
มัทนา หวีเกษ
พรรษา หมายประโคน
สุพัตรา รักการศิลป์
ผกามาศ มูลวันดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ในเขตพื้นที่ตำาบลจรเข้มาก อำาเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการกองทุนสัจจะออมทรัพย์หมู่บ้านจรเข้มาก จำานวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำาเนินงานอาจมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ 3 ด้าน ดังนี้ 1.1) ด้านการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์ พบว่า สมาชิกบางคนมีการส่งเงินกองทุนช้ากว่ากำาหนด ซึ่งทำให้คณะกรรมการไม่สามารถนำเงินไปส่งให้ทางธนาคารได้ต้องรอเก็บรวบรวมให้ครบตามจำนวนสมาชิก และการนัดประชุมสมาชิกกองทุนสัจจะออมทรัพย์สมาชิกมาประชุมไม่ครบทำให้สมาชิกไม่รับรู้ข่าวสารที่ประธานกองทุนสัจจะออมทรัพย์ได้ชี้แจง 1.2) ด้านสมาชิก พบว่า สมาชิกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการกู้ยืมเงินก็เพิ่มมากขึ้น จึงเป็นปัญหาเรื่องการเงินของกองทุนเมื่อถึงเวลาที่ต้องจ่ายเงินกู้ นอกจากนี้การเสนอแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ส่วนใหญ่ไม่มีใครอยากเป็นกรรมการทำให้ไม่มีคนใหม่ๆ เข้ามาเป็นคณะกรรมการ จะมีแต่คณะกรรมการชุดเดิมที่หมุนเวียนในการดำเนินงาน และ 1.3) ด้านแหล่งเงินทุน พบว่า แหล่งเงินทุนที่ไหลเข้าสู่กองทุนสัจจะออมทรัพย์มีเพียงช่องทางเดียว คือเงินออมสัจจะขั้นต่ำเดือนละ 20 บาท  ที่สมาชิกต้องส่งเข้ากองทุน โดยยังไม่มีเงินสมทบจากรัฐบาลผ่านโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน นอกจากนั้นยังไม่พบแนวคิดใหม่ในการหารายได้เข้าสู่กองทุน 2) รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนสัจจะออมทรัพย์มี ดังนี้ 2.1) สร้างจิตสำนึก และกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน 2.2) เลือกสรรคนดีเป็นกรรมการ 2.3) จัดทำระเบียบข้อบังคับ 2.4) การจัดตั้งกองทุนสัจจะออมทรัพย์ 2.5) เก็บเงินออมสัจจะจากสมาชิกเพื่อปล่อยเงินกู้ 2.6) รับชำาระดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือนส่งธนาคาร 2.7) รับชำระเงินต้นทุกสิ้นปีส่งธนาคาร 2.8) จัดสรรกำไร และ 2.9) ณ สิ้นปีปิดงบแสดงฐานะการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กมลลักษณ์ ดิษยนันท์. (2551). ศักยภาพและปัญหาในการจัดการกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ร.ม. (รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

2. ขจรจิต แสงอ่อน. (2554). ประสิทธิผลการดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง : กรณีศึกษาตำบลดงมะยาง อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ รป.ม. รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

3. ชัยณรงค์ ข้องสาย. (2551). รูปแบบการกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติของกองทุนหมู่บ้านชุมชนอุดมสุขพัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. ยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

4. พรพิมล เฉลิมมีประเสริฐ. (2554). การบริหารจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้าน เพื่อการพัฒนาครอบครัวและชุมชนอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 172-173.

5. วัฒนา มีพร้อม. (2554). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านตลาดพัฒนาอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีษะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. สาขาบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

6. วีระพงษ์ เอ่งฉ้วน. (2553). การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง บ้านสมิหลัง ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. ศรินพร จำเนียรพรหม. (2551). ความรู้ในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านความรู้และความพึงพอใจของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

8. แสงวิทยา ชินวงค์. (2554). การบริหารกองทุนหมู่บ้าน ตำาบลโซง อำเภอนำ้ายืน จังหวัดอุบลราชธานี.
การศึกษาค้นคว้าอิสระ รป.ม. (การปกครองท้องถิ่น), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

9. อิสรภาพ คำฟู. (2555). ปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้าน ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ รป.ศ. (การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและชนบท), มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์