ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีในการเลือก ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน ที่ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Main Article Content

มนิต พลหลา
ศุภนิดา เพ็ชรสีช่วง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีในการเลือกผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำานวน 285 คน เลือกหน่วยตัวอย่างแบบสองขั้นตอน โดยให้สาขาวิชาเป็นชั้นภูมิและใช้วีธีการเลือกตัวอย่างสุ่มแบบง่ายจากแต่ละชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 และใช้ตัวสถิติเอฟและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความจงรักภักดีมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจมีค่าเท่ากับ 98.8% และ 98.1% ตามลำดับ และมีสมการถดถอยดังนี้ ความจงรักภักดีในด้านพฤติกรรม = 0.282x1+0.327x2+0.240x3+0.145x4 ความจงรักภักดีในด้านทัศนคติ = 0.324x1+0.350x2+0.321x3 เมื่อ x1 คือ ด้านกระบวนการให้บริการ x2 คือ ด้านการส่งเสริมการขาย x3 คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ และ x4 คือ ด้านสถานที่จัดจำหน่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ดวงรัตน์ โกยกิจเจริญ และสมชาย ไชยโคตร. (2558). ผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของ
นักเรียนนักศึกษาในจังหวัดภูเก็ต.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 11(1), 157-186.

2. ประสิทธิ์ ดีจงเจริญ. (2554). รัฐกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทในโลกยุคใหม่: กรณีศึกษาพิธีการศุลกากร
ตรวจของผู้โดยสารประจำาท่าอากาศยานในส่วนกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

3. ปริษนามาสารี. (2554). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้บริโภค
วัยทำางานในการเลือกใช้ธุรกิจบริการเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานคร.
การศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

4.พชระ สุธนฐาน. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ
เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเนชั่น.

5. พัชราภรณ์ หงส์สิบสอง และ นันทา เติมสมบัติถาวร. (2557). พฤติกรรมการค้นคว้าข้อมูลบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเขตพื้นที่น่าน. PULINET Journal, 1(2), 14-20.

6. วิไลลักษณ์ บุญยัง วงศ์ธีรา สุวรรณิน และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 1-17.

7. สุนทรี อาจทวีกุล และคณะ. (2559). ปัจจัยต่อการเลือกผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของนักเรียน
วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9, (24 พฤศจิกายน 2559), 231-236.