สภาพการผลิต และแนวทางการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

นภาพร เวชกามา
ธีระรัตน์ ชิณแสน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการผลิต และหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อทบทวนสภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ การใช้เมล็ดพันธุ์ และวางแนวทางในการผลิตเมล็ดพันธุ์ร่วมกัน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม     จำนวน 104 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ทำการศึกษาในฤดูการผลิตที่ 2560/2561 เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนกรกฎาคม – พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกส่วนใหญ่ทำนาข้าวเหนียวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน และส่วนใหญ่ร้อยละ 78.2   ทำนาข้าวเจ้าเพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่ศูนย์ข้าวชุมชนเป็นหลัก  ผลิตปีละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ปลูกด้วยวิธีการหว่าน ผลผลิตข้าวที่ผลิตเมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 400 – 550 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย      3,500 – 5,000 บาท/ไร่/ฤดูการผลิต  สำหรับแนวทางในการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ของสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชนในพื้นที่ศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาของเกษตรกรเพื่อเป็นแหล่งน้ำสำรองสำหรับใช้ในการทำนา 2) การส่งเสริมให้สมาชิกใช้ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เช่นระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์แบบประณีต และผลิตเมล็ดพันธุ์โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 3) การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรและการสร้างตลาดข้าวคุณภาพในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ  และ 4) มีแผนในการดำเนินงานและการผลิตเพื่อการจัดการคุณภาพและรวมรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมาชิก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการข้าว. (2557). ศูนย์ข้าวชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. จงรักษ์ มูลเฟย ธวัชชัย รัตน์ชเลศ พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ และ รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์. (2550). ศักยภาพของศูนย์ข้าวชุมชนในการพัฒนาสู่การพึ่งตนเองด้านเมล็ดพันธุ์: กรณีศึกษาจังหวัดพะเยา. วารสารเกษตร, 23(2), 155–164.

3. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

4. ภาสกร นันทพานิช. (2558). การผลิตข้าว และแนวทางการพัฒนาในเขตน้ำฝนและชลประทาน
จังหวัดอุตรดิตถ์. แก่นเกษตร, 43(4), 643-654.

5. สำนักส่งเสริมการผลิตข้าว. (2558). ฐานข้อมูลศูนย์ข้าวชุมชน. สืบค้นจาก http://brpe.ricethailand.go.th/index.php?option=com_content&view=category&id=16&Itemid=162. (ค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561).

6. Mishra, A., P. Kuma, and A. Noble. (2012). Assessing the potential of SRI management principles and the FFS approach in Northeast Thailand for sustainable rice intensification in the context of climate change. International Journal of Agricultural Sustainability.10, 1-19.

7. Satyanarayana, A., T.M. Thiyagarajan, and N. Uphoff. (2007). Opportunities for water saving with higheryield from the system of rice intensification. Irrig Sci, 25, 99-115.

8. Sinha, S.K., and J. Talati. (2007). Productivity impacts of rice intensification (SRI): A case study in West Bengal, India. Agricultural Water Management, 87, 55-60.

9. Uphoff, N. (2007). An opportunity to enhance both food and water security with the system of rice intensification (SRI).P.117-130. In: U. Aswathanarayana. Food and Water Security. Taylor and Francis, London.