พฤติกรรมและแรงจูงใจสำหรับการเข้าพักที่โฮสเทล ในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากสถิติจำนวนของที่พักโฮสเทลในกรุงเทพมหานครที่มีการขยายธุรกิจมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมและแรงจูงใจของผู้ที่มาเข้าพักโฮสเทล เพื่อการปรับปรุงกลยุทธ์ของธุรกิจให้มีประสิทธิภาพในการแข่งขันมากขึ้น จากการสำรวจแบบสอบถามของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจำนวน 385 คน พบว่าส่วนใหญ่มาใช้บริการเข้าพักโฮสเทลมากกว่า 1 ครั้งโดยจองผ่านเว็บไซด์ www.booking.com และมักเดินทางมาพักกับเพื่อนที่โรงเรียน และมีกิจกรรมการร่วมพบปะสังสรรค์ ส่วนแรงจูงใจของผู้มาเข้าพักแบ่งเป็น 8 กลุ่มได้แก่ 1) การเรียนรู้จากภายในจิตใจกับการโฆษณาส่วนลด 2) การบริหารจัดการและสิ่งปลูกสร้าง 3) การให้การบริการต้อนรับและการสื่อสาร 4) บรรยากาศของที่พักและกลยุทธ์ราคา 5) ที่ตั้งและสภาพแวดล้อมของที่พัก 6) กิจกรรมเชื่อมปฏิสัมพันธ์ 7) ขนาดห้องพัก 8) การให้บริการอาหารเช้าฟรี แรงจูงใจที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในด้านความถี่และระยะเวลาในการเข้าพักโฮสเทล รวมถึงการใช้จ่ายเงินของผู้มาเข้าพัก ได้แก่ การบริหารจัดการและสิ่งปลูกสร้าง กิจกรรมการเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มาเข้าพักกับการให้บริการอาหารเช้าฟรี ส่วนปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการโฮสเทล ได้แก่ ประสิทธิภาพของไวไฟ (Wi-Fi) ความสะอาดของห้องพัก และรสชาติกับปริมาณของอาหารเช้า
Article Details
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
2. ธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์. (2552). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการเข้าพักโฮสเทลในเขตกรุงเทพมหานคร. (ปริญญาโท), มหาวิทยาลัยนเรศวร.
3.นราศรี ไววนิชกุล, &ชูศักดิ์ อุดมศรี. (2549). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ไพศาล ทองคำ. (2551). พฤติกรรมและความต้องการเลือกใช้บริการที่พักแรมของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาบริเวณอ่าวนาง จังหวัดกระบี่. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด), มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
6. ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว. (2558). สถานที่พักแรมในประเทศไทย. เข้าถึงได้จากhttps://intelligencecenter.tat.or.th:8080/apex/f?p=1:19:0 (1 กุมภาพันธ์ 2560)
7. สุรางคนา จามรสวัสดิ์. (2014). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าพัก ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ : กรณีศึกษา ธุรกิจโฮสเทล อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. Dusit Thani College Journal, 8(2).
8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2557). การประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ ปี 2557. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/questExce57.pdf. (1 กุมภาพันธ์ 2560)
9. สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2560). จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย พ.ศ. 2545 - 2556. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html. (1 กุมภาพันธ์ 2560)
10. Hecht, J.-A., & Martin, D. (2006). Backpacking and hostel-picking: an analysis from Cannada. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 18(1), 69-77.
11. Lawson, R., Tidwell, P., Rainbird, P., Loudon, D., & Dellar Bitta, A. (1999). Consumer Behaviour in Australia and New Zealand. Sydney: McGraw-Hill Inc.
12. Leslie, D., & Wilson, J. (2006). The backpacker and Scotland: A market anlysis. An International Multidisciplinary Journal of Tourism, 1(2), 11-28.
13. Loker-Murphy, L., & Pearce, P. (1995). Young budget travellers: Backpackers in Australia. Annals of Tourism Research, 22(4), 819-843.
14. Nunnaly J. C. (1978). Phychometic Theory. New York: McGraw-Hill.
15. Nash, R., Thyne, M., & Davies, S. (2006). An investigation into customer satisfaction levels in the budget accommodation sector in Scotland: A case study of backpacker tourists and the Scottish Youth Hostels Association. Tourism Management, 27, 525-532.
16. STATISTIC BRAIN. (2017). Internet Travel & Hotel Booking Statistics. Retrieved from https://www.statisticbrain.com/internet-travel-hotel-booking-statistics. ( 20 July 2017)
17. Xiaolu Sun, Philip Wang, Lepp, A., & Robertson, L. (2014). Symbolic Consumption and Brand Choice: China’s Youth Hostels for the International Travel Market. Journal of China Tourism Research, 10, 15-68.