ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ของนักศึกษากองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา

Main Article Content

วริษฐิ กิตติ์ธนารุจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ด้านภูมิหลัง ด้านครอบครัวของนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืม เพื่อการศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และระดับความสําคัญของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏ บุรีรัมย์ในการศึกษาต่อของนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ซึ่งกําลัง ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ภาคปลายปีการศึกษา 2551 ที่กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยสุ่มตัวอย่าง แบบแบ่งชั้นภูมิจํานวน 240 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทําการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ พรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมาน t - test และ F - test ในการทดสอบ
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในการศึกษาต่อของนักศึกษากองทุน เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ด้านวิชาการและกิจกรรม ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ อาจารย์ผู้สอนเป็นคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิ ด้านค่าใช้จ่าย ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ค่าเล่าเรียนมีความเหมาะสม ด้านสถานที่ ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ สถานที่ ตั้งของสถานศึกษาเห็นได้เด่นชัด ด้านการประชาสัมพันธ์ ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ สถานศึกษามีการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การรับสมัครผ่านทางอินเตอร์เน็ต ด้านค่านิยมจากคนใกล้ชิดและสังคม ปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุด คือ ความต้องการบัณฑิต ที่จบการศึกษาจากสถาบันนี้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน และด้านการให้บริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปัจจัยที่ ส่งผลมากที่สุด คือ วงเงินกู้ยืมที่ได้รับการจัดสรรมีความเหมาะสม และเมื่อทําการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ ส่งผลต่อการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จําแนกตามเพศพบว่า ด้านวิชาการและกิจกรรม ด้านค่าใช้จ่าย และด้านสถานที่แตกต่างกัน เมื่อจําแนกตามอายุของนักศึกษา พบว่า ด้านวิชาการและกิจกรรม ด้านค่าใช้จ่าย ด้านค่านิยมจากคนใกล้ชิดและสังคม ด้านการให้บริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เมื่อจําแนกตามระดับคะแนนเฉลี่ยของ นักศึกษา พบว่าด้านสถานที่ และด้านการให้บริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และเมื่อจําแนกตามจํานวนปีที่กู้ยืม พบว่า ด้านวิชาการและกิจกรรม ด้านค่านิยมจากคนใกล้ชิดและสังคม และด้านการให้บริการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย