พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภคในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • วชิระ สิงห์คง หลักสูตรนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ศศิธร พรมสอน หลักสูตรนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • บุณยกฤต รัตนพันธุ์ หลักสูตรนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ชูเกียรติ เนื้อไม้ หลักสูตรนวัตกรรมและธุรกิจอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • กฤษดา กาวีวงศ์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

คำสำคัญ:

อาหารฮาลาล, พฤติกรรมการเลือกซื้อ, พื้นที่พักพิงชั่วคราว, ผู้หนีภัยการสู้รบ, การตลาดสำหรับผู้บริโภคมุสลิม

บทคัดย่อ

จุดประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภคกับปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภค

วิธีการศึกษา เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่า t - test ใช้ในการทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ที่มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และ ค่า F- test ใช้ในการทดสอบความเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มีการแบ่งกลุ่มมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้สูตรการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษา ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล ในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ           ด้านราคา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล ผู้บริโภคเลือกซื้อจากตลาดสด และเลือกซื้ออาหารฮาลาล ประเภทอาหารกึ่งสำเร็จรูป สาเหตุที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ เพราะปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อ สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อไปบริโภคกับครอบครัว โดยผู้ที่ชักชวนให้บริโภคอาหารฮาลาล รวมถึงให้ข้อมูลในเรื่องอาหารฮาลาล คือ สมาชิกในครอบครัว และราคาเฉลี่ยที่ผู้บริโภคซื้อต่อครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 บาท

การนำผลวิจัยไปใช้ ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้บริษัทผู้ผลิตอาหารสำหรับชาวมุสลิม สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนด้านการตลาด ทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและการจัดโปรโมชั่นที่เหมาะสมกลับกลุ่มลูกค้า เป็นข้อมูลและแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตราฮาลาล ได้

References

Adulyasas, A., Baka, A., Muninnoppamas, J. & Yaena, B. (2023). A Verifying Halal Certification System for Food Products. KMUTT Research & Development Journal, 46(2), 173–190.

Banmonta, C. (2Adulyasas, A., Baka, A., Muninnoppamas, J. & Yaena, B. (2023). A Verifying Halal Certification System for Food Products. KMUTT Research & Development Journal, 46(2), 173–190.

Banmonta, C. (2020). Value Adding Strategy in Halal Food. Journal of Industrial Business Administration, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2(1), 21–34. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/244505

Boonmalert, W., Phoothong, B., & Chaitorn, T. (2023). Value Chain Management for Halal Ready-to-Eat Boxed Food Business in Bangkok. Journal of Academic for Public and Private Management, 5(2), 122–135. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/appm/article/view/260200

Bouzenita, I. A, Kirsten, H., & Wood, P.B. (2019). Pandora’s Box on the Shelf? Halal Certification, the GMF Marketplace and the Muslim Consumer. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 10(1), 62–72. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/197351

Buntham, U. (2016). Using Marking Mix Factor in Consumers Deciding to buy Ready-to-Made Frozen Food in Watcharapol Area Sai Mai District, Bangkok. [Unpublished master dissertation]. Krirk University.

Chapakiya, A., Kaday, A., & Saleah, A. (2020). Halal Process and Standard Development of Islamic Council of Pattani Province. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 11(1), 76–87. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/240614

Musikachanavi, B. (2016). Bakery Purchasing Behavior of Consumers in the Surat Thani Province. [Unpublished master dissertation]. Suratthani Rajabhat University.

Phukchaiwanich, K. (2013). Purchasing Decision Behavior and Lifestyle that Affect the Marketing Mix of Consumers of Phran Talay Brand Frozen Seafood Products in Bang Khae District. [Unpublished master dissertation]. Siam University.

Phumpa, P. (2015). Consumer Behavior Due to Marketing Trend. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal, Research and Development Institute, Kamphaeng Phet Rajabhat University, 21(1), 15–26. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/tgt/article/view/39263

Pitsuwan, W. (2016). Factors Affecting the Level of Significance Given to the Halal Logo by Muslim Consumers in Making Purchase Decisions on Food Products: A Case Study of the Thai Muslims Living in The Four Most Southern Provinces. [Master’s thesis] Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3511?mode=full

Pom-iem, P., & Samtisart, S. (2021). Factors Affecting the Export of Halal Products of Thailand to Southeast Asian Countries. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 12(1), 82–96. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/251533

Religious Information Centre, (2024, June 1). Statistical Information. https://e-service.dra.go.th/religion/islam

Siritorn, K., & Dueramae, S. (2016). Factor Affecting the Ability of Halal Food Entrepreneurs to Compete in AEC: A Case Study of Halal Food Entrepreneurs in Songkhla, Thailand and Kedah, Malaysia. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 7(1), 15–28. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/150540

Tanmavad, K., & Khanthachai, N. (2022). Production and Marketing Potentials of Halal Food Business in Bangkok and vicinity. Kasem Bundit Journal, 23(2), 81–98. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/262545

. Value Adding Strategy in Halal Food. Journal of Industrial Business Administration, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok, 2(1), 21–34.

Boonmalert, W., Phoothong, B., & Chaitorn, T. (2023). Value Chain Management for Halal Ready-to-Eat Boxed Food Business in Bangkok. Journal of Academic for Public and Private Management, 5(2), 122–135.

Bouzenita, I.A, Kirsten, H., & Wood, P.B. (2019). Pandora’s Box on the Shelf? Halal Certification, the GMF Marketplace and the Muslim Consumer. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 10(1), 62–72.

Buntham, U. (2016). Using Marking Mix Factor in Consumers Deciding to buy Ready-to-Made Frozen Food in Watcharapol Area Sai Mai District, Bangkok. [Unpublished master dissertation]. Krirk University.

Chapakiya, A., Kaday, A., & Saleah, A. (2020). Halal Process and Standard Development of Islamic Council of Pattani Province. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 11(1), 76–87.

Musikachanavi, B. (2016). Bakery Purchasing Behavior of Consumers in the Surat Thani Province. [Unpublished master dissertation]. Suratthani Rajabhat University.

Phukchaiwanich, K. (2013). Purchasing Decision Behavior and Lifestyle that Affect the Marketing Mix of Consumers of Phran Talay Brand Frozen Seafood Products in Bang Khae District. [Unpublished master dissertation]. Siam University.

Phumpa, P. (2015). Consumer Behavior Due to Marketing Trend. The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal, Research and Development Institute, Kamphaeng Phet Rajabhat University, 21(1), 15–26.

Pitsuwan, W. (2016). Factors Affecting the Level of Significance Given to the Halal Logo by Muslim Consumers in Making Purchase Decisions on Food Products: A Case Study of the Thai Muslims Living in The Four Most Southern Provinces. [Master’s thesis] Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3511?mode=full

Pom-iem, P., & Samtisart, S. (2021). Factors Affecting the Export of Halal Products of Thailand to Southeast Asian Countries. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 12(1), 82–96.

Religious Information Centre, (2024, June 1). Statistic Information. https://eservice.dra.go.th/chart_place_page

Siritorn, K., & Dueramae, S. (2016). Factor Affecting the Ability of Halal Food Entrepreneurs to Compete in AEC: A Case Study of Halal Food Entrepreneurs in Songkhla, Thailand and Kedah, Malaysia. Journal of Islamic Studies, Prince of Songkla University, 7(1), 15–28.

Tanmavad, K., & Khanthachai, N. (2022). Production and Marketing Potentials of Halal Food Business in Bangkok and vicinity. Kasem Bundit Journal, 23(2), 81–98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

สิงห์คง ว., พรมสอน ศ., รัตนพันธุ์ บ., เนื้อไม้ ช., & กาวีวงศ์ ก. (2024). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภคในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 15(2), 29–44. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/279854