กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารฮาลาล

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ แบนมณฑา บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การเพิ่มคุณค่า, อาหารฮาลาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาล และเพื่อศึกษากลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารฮาลาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยบริโภคอาหารฮาลาลในร้านอาหารมุสลิมในกรุงเทพมหานคร จำนวน 386 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคอาหารฮาลาลในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 30-45 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และมีรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมในด้านความถี่ในระดับมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญของกลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารฮาลาล ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาในการนำสูตรและรสชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ 2) การสร้างเรื่องราวโดยการนำเสนอให้เห็นถึงความยึดมั่นตามหลักศาสนาในการรักษาคุณภาพฮาลาล 3) ความคิดสร้างสรรค์โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้น่าสนใจ และ 4) การวิจัยและพัฒนาอาหารฮาลาลให้มีรายการอาหารใหม่ ๆ และการแปรรูปอาหารให้มีระยะเวลาการจัดเก็บให้นาน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30

How to Cite

แบนมณฑา จ. (2020). กลยุทธ์การเพิ่มคุณค่าให้กับอาหารฮาลาล. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, 2(1), 21–34. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/iba/article/view/244505