การเตรียมบทความ

  • เตรียมเนื้อหาบทความ
    • เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสาขาอิสลามศึกษาหรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
    • จัดทำบทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ
    • ใช้ภาษาเขียนที่เป็นทางการ และหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่ไม่เป็นกลาง
    • จัดรูปแบบบทความให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสาร
  • การจัดรูปแบบ
    • ฟอนต์ภาษาไทย: TH Sarabun New ขนาด 16 สำหรับเนื้อหา, 18 สำหรับหัวข้อหลัก, 20 สำหรับชื่อเรื่อง
    • ฟอนต์ภาษาอังกฤษ: Times New Roman ทุกส่วน รวมถึงเอกสารอ้างอิง ขนาด 12 สำหรับเนื้อหา 14 หัวข้อ และ 16 สำหรับเชื่อเรื่อง
    • ตั้งค่าหน้ากระดาษ A4 ขอบ 1 นิ้วทุกด้าน หรือ ขนาด ปกติ
  • โครงสร้างบทความ
    • บทนำ (Introduction)
    • วิธีการศึกษา (Methodology)
    • ผลการศึกษา (Results)
    • บทสรุป (Conclusion)
    • ข้อเสนอแนะ (Recommendations)
    • กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
    • เอกสารอ้างอิง (References) ตามรูปแบบ APA 7th Edition
  • การตรวจสอบก่อนส่ง
    • ตรวจสอบคำผิด ไวยากรณ์ และการใช้คำศัพท์เฉพาะทาง
    • ตรวจสอบการถอดอักษรและการแปลภาษาอังกฤษของชื่อเรื่องและชื่อผู้แต่ง (หากเป็นภาษาอื่น)
  • การส่งบทความ
    • สมัครสมาชิกและเข้าสู่ระบบบนเว็บไซต์ของวารสาร
    • อัปโหลดไฟล์บทความและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบฟอร์มรับรองความถูกต้อง
  • กระบวนการประเมินและตีพิมพ์
    • รอการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review)
    • ตอบรับและแก้ไขตามข้อเสนอแนะภายในเวลาที่กำหนด
    • ตรวจสอบการจัดหน้า (Proofreading) และยืนยันความถูกต้อง
    • ติดตามการประกาศตีพิมพ์ และสามารถดาวน์โหลดบทความจากเว็บไซต์
  • รูปแบบการเขียนอ้างอิง

    รูปแบบการเขียนอ้างอิง

    1. คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงบทความ คลิ๊ก
      ผู้เขียนบทความต้องจัดทำรายการเอกสารอ้างอิงท้ายบทความตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ฉบับที่ 7 (7th edition) ตามข้อกำหนดของวารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

    2. แนวทางการถอดอักษรกรณีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ
      ในกรณีที่แหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างอิงไม่มีชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษ ให้ดำเนินการดังนี้

      • สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาไทย
        ให้ถอดเสียงชื่อเรื่องจากภาษาไทยเป็นอักษรโรมัน (Romanization) โดยใช้โปรแกรม:
        Thai2English Transliteration Tool

      • สำหรับแหล่งข้อมูลภาษาอาหรับ
        ให้ถอดเสียงชื่อเรื่องจากภาษาอาหรับเป็นอักษรโรมันโดยใช้โปรแกรม:
        Camel Lab Romanize Arabic

    ทั้งนี้ ต้องรักษาหลักเกณฑ์การถอดอักษรตามมาตรฐานที่วารสารกำหนด และจัดทำรายการอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพื่อให้สามารถตรวจสอบและเข้าถึงได้ในระดับนานาชาติ