วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS <p><strong>วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ </strong>จัดทำโดย <strong>คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</strong> มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการแผยแพร่องค์ความรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับอิสลามศึกษา มุสลิมศึกษา กฎหมายอิสลาม เศรษฐศาสตร์อิสลาม และการศึกษาตะวันออกกลาง ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ</p> <p>บทความที่ส่งเข้ารับการตีพิมพ์ในวารสารนี้ จะต้องผ่านการพิจารณาเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ เพื่อประเมินความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสาร และการปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 3 ท่านในรูปแบบ <strong>Double-Blinded Review</strong></p> <p>วารสารอิสลามศึกษาฯ เป็นวารสารราย 6 เดือน (ปีละ 2 ฉบับ)</p> <ul> <li>ฉบับที่ 1: มกราคม - มิถุนายน</li> <li>ฉบับที่ 2: กรกฎาคม - ธันวาคม</li> </ul> <p><strong>ISSN (ฉบับพิมพ์)</strong>: 2773-9848<br /><strong>ISSN (ออนไลน์)</strong>: 2697-3979</p> Faculty of Islamic Sciences, Prince of Songkla University, Pattani Campus th-TH วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2773-9848 <p>บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา</p> การปรับตัวในการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมของนิสิตวิชาชีพครูมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ในสถาบันการผลิตครูภาคเหนือตอนบน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/280568 <p><strong>Objective: </strong>1) to study the cross-cultural learning adaptation of Muslim pre-service teachers from the southern border provinces studying at teacher education institutions in upper northern Thailand, and 2) to develop policy recommendations to support the cross-cultural learning adaptation of Muslim pre-service teachers from the southern border provinces for teacher education institutions in upper northern Thailand.</p> <p><strong>Methodology:</strong> This study is qualitative research. The target area is Khun Khao University (pseudonym). Data was conducted in 2 phases: Phase 1 studied cross-cultural learning adaptation through document study, field observation, and semi-structured interviews with 12 Muslim pre-service teachers. Phase 2 involved policy recommendation formulation by drafting policy proposals from data in Phase 1 and critically discussing the policy proposals with 5 Muslim student club leaders from higher education institutions in upper northern Thailand. Data was collected from July 2023 to June 2024 and analyzed using content analysis.</p> <p><strong>Research findings:</strong> 1) The cross-cultural learning adaptation of Muslim pre-service teachers can be categorized into 3 dimensions: i) Adapting Muslim practices in a new cultural environment ii) Negotiating and creating learning spaces aligned with Muslim practices iii) Adapting and learning to construct a Muslim pre-service teachers’ identity. 2) The study recommends that teacher education institutions implement policies and practices to facilitate the adaptation and learning of Muslim pre-service teachers in 5 key areas: facilities, extra-curricular activities, curriculum and instruction, professional teaching experience, and staff. Additionally, these institutions should adopt policies that support and encourage non-Muslim students to learn about and understand the religion and cultural practices of Muslim students from the southern border provinces.</p> <p><strong>Contributions</strong><strong>:</strong> Teacher education institutions in upper northern Thailand can adapt in designing and establishing specific policies according to their institutional contexts that support cross-cultural learning adaptation of Muslim pre-service teachers from the southern border provinces of Thailand.</p> วสันต์ สรรพสุข ถิรายุส์ บำบัด อรรถพล คณิตชรางกูร Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 1 15 บทบาทผู้ปกครองมุสลิมในการส่งเสริมกรอบคิดติดยึดเติบโตของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/277917 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้ปกครองมุสลิมในการส่งเสริมกรอบคิดติดยึดเติบโตของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน 3 ด้าน ได้แก่ การเป็นแบบอย่าง การจัดสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา และการสนับสนุนการเรียนรู้จากความล้มเหลว</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองมุสลิมของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 380 คน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผลวิจัย พบว่า ผู้ปกครองมุสลิมส่งเสริมกรอบคิดติดยึดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล อยู่ในระดับมาก (<em>M</em>=4.01) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยา (<em>M</em>=4.13) รองลงมา คือ การสนับสนุนการเรียนรู้จากความล้มเหลว (<em>M</em>=3.97) และการเป็นแบบอย่าง (<em>M</em>=3.94) ตามลำดับ</p> <p><strong>การนำผลวิจัยไปใช้</strong> การศึกษาบทบาทผู้ปกครองมุสลิมในการส่งเสริมกรอบคิดติดยึดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล สามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ปกครองในการส่งเสริมกรอบคิดติดยึดเติบโตของเด็กวัยอนุบาล และข้อเสนอเชิงนโยบายในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยให้มีกรอบคิดติดยึดเติบโต</p> มาวัฎดะฮ์ สาและ ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 16 28 พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภคในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/279854 <p><strong>จุดประสงค์</strong> เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภคกับปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาลของผู้บริโภค</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> เก็บข้อมูลจากผู้บริโภคในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก จำนวน 382 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้ค่า t - test ใช้ในการทดสอบการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรอิสระ ที่มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม และ ค่า F- test ใช้ในการทดสอบความเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่มีการแบ่งกลุ่มมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป โดยใช้สูตรการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี LSD สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล ในเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราวผู้หนีภัยการสู้รบบ้านนุโพ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในภาพรวมอยู่ใน ระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมา คือ ด้านราคา ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกันให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มีตราฮาลาล ผู้บริโภคเลือกซื้อจากตลาดสด และเลือกซื้ออาหารฮาลาล ประเภทอาหารกึ่งสำเร็จรูป สาเหตุที่ผู้บริโภคเลือกซื้อ เพราะปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อ สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อไปบริโภคกับครอบครัว โดยผู้ที่ชักชวนให้บริโภคอาหารฮาลาล รวมถึงให้ข้อมูลในเรื่องอาหารฮาลาล คือ สมาชิกในครอบครัว และราคาเฉลี่ยที่ผู้บริโภคซื้อต่อครั้งต่ำกว่าหรือเท่ากับ 100 บาท</p> <p><strong>การนำผลวิจัยไปใช้ </strong>ผลการวิจัยจะเป็นแนวทางให้บริษัทผู้ผลิตอาหารสำหรับชาวมุสลิม สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการวางแผนด้านการตลาด ทั้ง ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่ายและการจัดโปรโมชั่นที่เหมาะสมกลับกลุ่มลูกค้า เป็นข้อมูลและแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีตราฮาลาล ได้</p> วชิระ สิงห์คง ศศิธร พรมสอน บุณยกฤต รัตนพันธุ์ ชูเกียรติ เนื้อไม้ กฤษดา กาวีวงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 29 44 ปัจจัยที่มีผลต่ออัลวะสะฏียะฮ์ของนักศึกษาคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/280576 <p><strong>จุดประสงค์</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยและการจัดอันดับปัจจัยที่มีผลต่ออัลวะสะฏียะฮ์ของนักศึกษาคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 241 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong> พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่ออัลวะสะฏียะฮ์ของนักศึกษามากที่สุดคือปัจจัยด้านสังคม โดยมีผู้ตอบจำนวน 207 คน คิดเป็นร้อยละ 17.6 รองลงมาคือปัจจัยด้านครอบครัว มีผู้ตอบจำนวน 192 คน คิดเป็นร้อยละ 16.3 และปัจจัยด้านระบบการดูแลหอพักมีผลน้อยที่สุด มีผู้ตอบจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 3.6 และผลการจัดอันดับปัจจัยที่มีผลต่ออัลวะสะฏียะฮ์ของนักศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านครอบครัวมีผลมากที่สุด โดยมีผู้ตอบจำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 68.0 รองลงมาคือปัจจัยด้านสังคม มีผู้ตอบจำนวน 88 คน คิดเป็นร้อยละ 36.5 และปัจจัยด้านมัสยิด มีผู้ตอบจำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 23.7 และปัจจัยด้านระบบการดูแลหอพักและสื่อต่าง ๆ มีผลน้อยที่สุด มีผู้ตอบจำนวน 103 คน คิดเป็นร้อยละ 42.7</p> <p><strong>การนำผลการวิจัยไปใช้</strong> สถาบันการศึกษา ครอบครัว สังคม และบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลนักศึกษาสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการปลูกฝังและส่งเสริมนักศึกษาด้านการใช้ชีวิตตามหลักอัลวะสะฏียะฮ์ที่เหมาะสมในสังคมพหุวัฒนธรรม</p> ยุทธนา เกื้อกูล นิเลาะ แวอุเซ็ง มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 45 60 การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลากโดยใช้รูปแบบStory Line สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/274403 <p><strong>จุดประสงค์</strong> 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความโดยใช้รูปแบบ Storyline 2) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้รูปแบบ Storyline 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ Storyline 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Storyline</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> กลุ่มตัวอย่างในการค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านสะเอะ จำนวน 23 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าอิสระ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 2) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาอัลอัคลาก โดยใช้รูปแบบ Storyline 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การเรียนรู้แบบ Storyline</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>พบว่า ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ การอ่านจับใจความโดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก มีค่าประสิทธิภาพ 83.15/85.22 2. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 คือ เท่ากับ 82.03 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (25.57 &gt; 19.87) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Storyline รายวิชาอัลอัคลาก ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก</p> <p><strong>การนำผลวิจัยไปใช้</strong> บทความวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา</p> ซูกิมัน มามะ มูหำหมัดสุใหมี เฮงยามา Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 61 76 Promoting Sustainable Innovation Through Islamic Financial Literacy and Inclusion in Thailand's Five Southern Border Provinces https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/278559 <p><strong>Objective</strong><strong>:</strong> The purpose of this study is to evaluate the present level of Islamic financial literacy and inclusion of Muslims in five southern border provinces of Thailand as well as to analyse how they could influence financial decision-making and economic behaviour.</p> <p><strong>Methodology: </strong>This study examines Islamic financial literacy and participation of Muslims in Thailand’s five southernmost. A mixed-methods research design was employed, using questionnaires to collect quantitative data from Muslim sample and semi-structured interviews to gather qualitative data from workers in organisations that are associated with Islamic finance.</p> <p><strong>Research findings: </strong> Based on the findings, respondents had basic Islamic financial knowledge but struggled with complex concepts. Despite awareness of Islamic financial services, there was a negative perception due to perceived similarities with conventional banks. Overall, financial literacy was neutral to positive. Additionally, over 50% of the participants were unable to access Islamic financial services. Key barriers comprised a lack of trust, high costs, and insufficient documentation, highlighting the need for improved education and tailored financial products.</p> <p><strong>Contributions: </strong>This research contributes to the corpus of knowledge by gathering a significant amount of data on the patterns of Islamic financial inclusion and literacy and how they relate to Thailand's Islamic financial sector. Considering that there is a Muslim minority in Thailand, this information could be used to encourage economic growth in the larger community and to advertise business opportunities to all demographics. Additionally, this research adds to the body of literature by illuminating the significance of Islamic finance in expanding financial access in Thailand and its potential to strengthen the nation's financial market.</p> Asas Worasutr Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 94 106 Enhancing Student Engagement in Islamic Studies: The Impact of Traditional Islamic Teaching and Problem-Based Learning Approaches https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/276797 <p><strong>Objective</strong><strong>:</strong> This research study focused on exploring strategies designed to enhance student engagement within the field of Islamic Studies. The primary objective was to evaluate the influence of two distinct pedagogical approaches, namely Traditional Islamic Teaching (TIT) and Problem-Based Learning (PBL), on student engagement—a fundamental pillar of effective learning.</p> <p><strong>Methodology:</strong> The research employed a mixed-methods research design, combining quantitative surveys to quantitatively measure levels of student engagement and qualitative interviews to qualitatively explore students' experiences and perceptions. The study was situated within an Islamic Studies classroom and focused on a sample of students drawn from an educational institution.</p> <p><strong>Research Findings:</strong> The study unveiled intriguing findings regarding the influence of pedagogical methods on student engagement: Traditional Islamic Teaching (TIT) retained its significance, rooted in Islamic educational traditions, and effectively imparted religious knowledge and values to students. Problem-Based Learning (PBL) emerged as a contemporary approach promoting active, student-centered learning, fostering critical thinking, collaboration, and the practical application of knowledge. PBL demonstrated a positive impact on student engagement, aligning with modern pedagogical theories emphasizing active learning, critical thinking, and problem-solving skills.</p> <p><strong>Contributions </strong>The outcomes of this study bore substantial significance for the field of Islamic Studies: Educators gain insights into effective pedagogical strategies. Curriculum designers learn to integrate TIT and PBL to align with modern educational goals. Policymakers receive data to improve Islamic Studies education, enriching pedagogical practices.</p> Orawit Boonchom Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 107 124 Sharia Supervision Experience in Malaysia and the Kingdom of Saudi Arabia “A Comparative Analytical Study” https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/272713 <p>Monitoring the activities of Islamic banks is a key objective of Sharia requirements. Malaysia and Saudi Arabia are major players in the Islamic banking industry, particularly in Sharia supervision. This study addresses the lack of clarity in legal provisions on Sharia supervision in both countries. Using an inductive, analytical, and comparative approach, the findings reveal that Saudi Arabia's legal provisions are more detailed and comprehensive than Malaysia's.</p> <p><strong>Research Objectives: </strong>The research aims to achieve the following objectives: Firstly, shedding light on the efforts and measures taken by the Central Bank in both countries. Secondly, explaining the similarities and differences between the legislations of the Sharia supervision in the Islamic banking in both countries.</p> <p><strong>Research Methodology:</strong> First, the the researcher employed the inductive approach to gather information on the significance of Sharia supervision in the central bank and its crucial role in the success of Islamic banking. This involved studying the regulatory frameworks and laws of Islamic banking in both Malaysia and Saudi Arabia. Furthermore, the researcher utilized the analytical method to analyze the findings obtained from legal materials related to this topic. Lastly, the researcher used a comparative method to compare the legislation governing Islamic banks in Malaysia and Saudi Arabia.</p> <p><strong>Research Contribution:</strong> Shedding light on the measures taken by both the Central Bank of Malaysia and the Kingdom of Saudi Arabia will enhance the duties of Sharia supervision in Islamic banks industries. It will also assist the specialists in the Islamic banking industry to benefit from the experiences of the two countries on Sharia supervision.</p> Ibrahim Wanni Tohyala Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 125 138 فاعلية برنامج إلكتروني قائم على الرسوم المتحركة في تنمية التحصيل لقواعد الميراث والإنجاز الأكاديمي لدى الطلاب الناطقين بغير العربية https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/276130 <p><strong>أهدف البحث:</strong> يهدف البحث الحالي إلى قياس فاعلية برنامج قائم على الرسوم المتحركة في تنمية التحصيل لقواعد الميراث والإنجاز الأكاديمي لدى الناطقين بغير العربية (المستوى المتقدم) بمعهد أزهر أربيل بكوردستان العراق. <strong>منهج البحث:</strong> المنهج شبه التجريبي حيث تكونت عينة البحث من (30) طالبًا من طلاب الصف الثالث الثانوي الأزهري (المستوى المتقدم) بمعهد أزهر أربيل بدولة العراق، واشتملت على مجموعة تجريبية واحدة وتدرس باستخدام البرنامج القائم على الرسوم المتحركة، وتمثلت أدوات البحث في اختبار التحصيل الدراسي لقواعد الميراث (إعداد الباحثين)، ومقياس الإنجاز الأكاديمي (إعداد الباحثين)، واستمرت مدة تدريس البرنامج شهرًا ونصفا، وبعد التحقق من صدق وثبات أدوات الدراسة تم تطبيقها على عينة البحث قبليًا وبعديًا، واستخراج النتائج.<strong> نتائج البحث</strong><strong>:</strong> توصلت الدراسة إلى فاعلية البرنامج الإلكتروني القائم على الرسوم المتحركة في تنمية التحصيل الدراسي في قواعد الميراث والإنجاز الأكاديمي لدي الطلاب الناطقين بغير العربية؛ حيث وجدت فروق ذات دلالة إحصائية عند مستوى (0.01) بين متوسطي درجات طلاب المجموعة التجريبية في التطبيقين القبلي والبعدي للتحصيل الدراسي في قواعد الميراث لصالح التطبيق البعدي، كما وجدت فروق ذات دلالة إحصائية عند مستوى (0.01) بين متوسطي درجات طلاب المجموعة التجريبية في التطبيقين القبلي والبعدي لمقياس الإنجاز الأكاديمي لصالح التطبيق البعدي. <strong> تطبيقات البحث:</strong> في ضوء نتائج البحث خرج الباحثان بعدد من التوصيات، واقترحا مجموعة من المقترحات.</p> منال فوزي محمد فروح عباس عبد اللاه شومان Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 139 155 ความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในสื่อสังคมออนไลน์ต่อนโยบายพรรคการเมืองในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/274941 <p><strong>จุดประสงค์</strong> เพื่อสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในสื่อสังคมออนไลน์ต่อนโยบายพรรคการเมืองต่าง ๆ ในการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong> คณะผู้เขียนใช้แนวคิดอิสลามการเมืองเป็นกรอบในการวิเคราะห์และสังเกตความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมที่แสดงออกมาผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในช่วงการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองก่อนการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 โดยมีกรอบเวลาในการศึกษา คือ ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม พ.ศ. 2566 สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ศึกษา คือ เฟซบุ๊ก และ แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับเฟซบุ๊ก เช่น เพจเฟซบุ๊ก คลิปเรียล สตอรี เป็นต้น โดยขอบเขตเนื้อหาที่คณะผู้เขียนนำมาศึกษามาจาก เพจเฟซบุ๊กสำนักข่าวต่างๆ ทั้งของสังคมไทยโดยรวม และสำนักข่าวของมุสลิม เพจนักการเมืองมุสลิม เพจพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึง เฟซบุ๊กส่วนตัวของนักวิชาการมุสลิม และประชาชนมุสลิม เป็นต้น</p> <p><strong>ผลการศึกษา </strong>จากการศึกษาพบว่ามุสลิมไทยมีลักษณะเฉพาะแตกต่างจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในการแสดงความเห็นทางการเมืองผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก โดยมีมุสลิมส่วนหนึ่งใช้โลกทัศน์อิสลามในการสนับสนุนข้อถกเถียงโต้แย้งฝ่ายที่เห็นต่างเกี่ยวกับนโยบายที่พรรคการเมืองนำเสนอ คณะผู้เขียนได้วิเคราะห์ความคิดเห็นทางการเมืองของมุสลิมไทยในช่วงก่อนการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ซึ่งสามารถจำแนกได้ 7 ประเภท คือ แนวคิดอนุรักษ์นิยม แนวคิดเสรีนิยม แนวคิดมลายู/มุสลิม แนวคิดผสมผสาน แนวคิดเลือกผู้สมัครรายบุคคล แนวคิดใช้สิทธิ์ “ไม่เลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมืองใด” และ แนวคิดไม่ไปเลือกตั้ง</p> <p><strong>การนำผลวิจัยไปใช้</strong> จากการศึกษาทำให้ทราบถึงปัจจัยที่ทำให้มุสลิมในประเทศไทยมีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน ปัจจัยสำคัญดังกล่าว คือ การลำดับความสำคัญและการให้น้ำหนักประเด็นทางการเมืองและสังคมแตกต่างกัน และการที่มุสลิมรับรู้ชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ในอนาคตสิ่งที่เป็นเรื่องท้าทายมุสลิมก็คือ จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีพรรคการเมืองที่ตอบสนองความต้องการ อีกทั้งเป็นทางเลือกและความหวังให้กับชุมชนมุสลิมทั่วประเทศนอกเหนือจากพรรคแนวเสรีนิยม หรือ อนุรักษ์นิยม</p> จิระโรจน์ มะหมัดกุล ฐานุวัชร์ รินนานนท์ จารุพล เรืองสุวรรณ ดามพ์ สุคนธทรัพย์ Copyright (c) 2024 วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-21 2024-12-21 15 2 77 93