การพัฒนากระบวนการและมาตรฐานฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อับดุลย์ลาเต๊ะ สาและ ศษ.ม (การบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม), ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาวิชาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อับดุรรอฮ์มาน จะปะกิยา Ph.D. (อิสลามศึกษา), ผู้ช่วยศาสตราจารย์,อาจารย์ประจำสาขาวิชาอุศูลุดดีน คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาหะมะ คาเด Ph.D. (อิสลามศึกษา), อาจารย์ประจำสาขาอิสลามศึกษา คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

คำสำคัญ:

มาตรฐานฮาลาล, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการรับรองมาตรฐานฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และเพื่อพัฒนากระบวนการรับรองมาตรฐานฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี การวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ฝ่ายกิจการฮาลาล และประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี และผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตอาหารที่มีเครื่องหมายฮาลาลในจังหวัดปัตตานี จำนวน 14 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป แล้วใช้การบรรยายความแบบพรรณนาตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินการรับรองมาตรฐานฮาลาลของฝ่ายกิจการฮาลาลสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการขอรับรองฮาลาลตามกฎระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขอรับรองมาตรฐานฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย จากการดําเนินการของฝ่ายกิจการฮาลาล สํานักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดปัตตานี พบว่าผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาลมีการขอจดทะเบียนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสถานประกอบการขนาดเล็ก

การพัฒนากระบวนการรับรองมาตรฐานฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี พบว่า ควรปรับปรุงขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นปัจจุบันและรวดเร็ว และการพัฒนาบุคลากรของฝ่ายกิจฮาลาลให้มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์สามารถตรวจสอบรับรองฮาลาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการเชิงรุกเพื่อทำความเข้าใจและให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการที่เป็นมุสลิมเกี่ยวกับการขอรับรองมาตราฐานฮาลาล การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารหน้าเว็บไซต์ ควรเป็นปัจจุบัน และจัดทำฐานข้อมูลที่ทันสมัย และเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ควรเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการขอรับรองฮาลาลให้กับผู้ประกอบการ และควรมีกฎหมายรองรับและให้อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการและควบคุมผู้ที่ใช้เครื่องหมายฮาลาลหมดอายุหรือละเมิดการใช้เครื่องหมายฮาลาล

References

ธีรวิทย์ เฑียรฆโรจน์. (2557). การวิเคราะห์การดำเนินธุรกิจด้านฮาลาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

มุฮัมมัดราชาห์ ฟิรเดาซ์. (2560). Halal Story 40คำถามฮาลาลไทยที่จะทำให้คุณเข้าใจมากยิ่งขึ้น.ภูเก็ต: บัตตุ้ลพริ้นติ้ง.

รสชงพร โกมลเสวิน, สุมิตรา ศรีวิบูลย์, และปราณี สวัสดิสรรพ์. (2560). มุมมองของผู้ประกอบการไทยต่อมาตรฐานฮาลาล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). มาตรฐานอาหารฮาลาล. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2562. จาก shorturl.at/JNS15

สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ฝ่ายกิจการฮาลาล. (2562). เอกสารประกอบการสัมมนา โครงการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพและมาตรฐานการตรวจรับรองฮาลาลให้กับ EMEs และวิสาหกิจ ชุมชน ปี 2562. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

อารยา อายุบเคน. (2557). มาตรฐานการดำเนินงานการผลิตอาหารภายใต้เครื่องหมายฮาลาลของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารในจังหวัดนนทบุรี(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, เพชรบุรี.

อดิศร มูหะหมัดอารี. (2543). ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ศึกษา กรณีองค์กรที่มีอำนาจออกเครื่องหมายฮาลาล (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

อิดริส ดาราไก่, อับดุลเลาะ ยูโซะ, ก้อหรี บุตรหลำ, และยีดิง ดอลี. (2556). การลงทุนธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัด ชายแดนใต้ของประเทศไทย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-06-2020

How to Cite

สาและ อ. ., จะปะกียา อ. ., & คาเด อ. . (2020). การพัฒนากระบวนการและมาตรฐานฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 11(1), 75–87. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/240614