ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของธุรกิจอาหารฮาลาลต่อการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรณีศึกษาผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย และรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
คำสำคัญ:
การค้าชายแดน, ธุรกิจอาหารฮาลาล, ประชาคมอาเซียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารฮาลาลในจังหวัดสงขลา ประเทศไทย และในรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย โดยสุ่มตัวอย่างจากผู้ประกอบการขนาดเล็กด้วยวิธีกำหนดโควตาและสุ่มแบบบังเอิญจำนวน 240 ตัวอย่าง จากทั้งสองพื้นที่ และ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและอ้างอิง เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และ One-Way ANOVA ในการศึกษานี้ได้แบ่งความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนออกเป็นสามด้านหลัก คือ ด้านความเป็นนานาชาติ ด้านการประกอบอาชีพ และด้านการตลาด ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการในสงขลา มีความพร้อมด้านความเป็นนานาชาติอยู่ในระดับปานกลางในขณะที่ผู้ประกอบการในรัฐเคดาห์ มีความพร้อมด้านความเป็นนานาชาติอยู่ในระดับมาก โดยสาเหตุหลักที่แตกต่างกันคือความสามารถทางภาษาและการสื่อสาร สำหรับด้านการประกอบอาชีพ และด้านการตลาด พบว่าทั้งสองประเทศ มีความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอยู่ในระดับมากเท่าเทียมกัน ดังนั้นหากต้องการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารฮาลาลในจังหวัดสงขลาให้สามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนได้นั้น จำเป็นต้องเร่งส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจให้มีศักยภาพด้านภาษาและการสื่อสารก่อนเป็นลำดับแรก
References
AEC.kapook. (2550).ความหมายประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นจาก http://aec.kapook.com/view49582.html
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2555). อาหารฮาลาลในประเทศไทย 2558. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2558, สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/
มติชน. (2555). สามเสาหลักของประชาคมอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นจาก http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm
สถาบันมาตรฐานอาหารฮาลาลแห่งประเทศไทย. (2550). ความหมายอาหารฮาลาล 2558. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.halal.or.th/th/main/index.php
สนพ.ทันหุ้น. (2556). อาเซียนกับเป้าหมายศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลโลก. สืบค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2558, สืบค้นจาก http://www.thai-aec.com/894#ixzz3m0t6UbvM
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกเรื่อง ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารอิสลามศึกษาเป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะวิทยาการอิสลาม กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้มีการอ้างอิงแสดงที่มา