ข้อพิจารณาตามกรอบประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

ผู้แต่ง

  • วิทยา นีติธรรม สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • สุพัตรา แผนวิชิต สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วรรณวิภา เมืองถ้ำ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ฟอกเงิน, มาตรฐานสากลด้าน AML/CFT, การประเมินผล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลการประเมินและปัญหาการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย การศึกษาวิจัยใช้วิธีดำเนินการวิจัยในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ประเทศไทยยังมีข้อบกพร่องที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านกฎหมายตามกรอบการประเมินการปฏิบัติตามเชิงเทคนิค จำนวน 9 ข้อ จากข้อแนะนำทั้งหมด จำนวน 40 ข้อ และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านประสิทธิผล จำนวน 7 ด้าน จากข้อแนะนำทั้งหมด จำนวน 11 ด้าน ข้อเสนอแนะ คือ การเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไร และการเปิดเผยชื่อผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง (Beneficial Owner) รวมถึงมาตรการทางบริหารอื่นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลดังกล่าว อันจะส่งผลให้มาตรการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมีประสิทธิภาพ ระบบการเงินของประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดผลดีต่อระบบการค้า การลงทุน และระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-13

How to Cite

นีติธรรม ว., แผนวิชิต ส., & เมืองถ้ำ ว. (2022). ข้อพิจารณาตามกรอบประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย. สหวิทยาการและความยั่งยืนปริทรรศน์ไทย, 11(2), 102–119. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/262444