การศึกษาศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมในจังหวัดนครพนม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็น MICE City ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
MICE, MICE City, การประชุม , การพัฒนาศักยภาพบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพธุรกิจจัดประชุมในจังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาความพร้อมของจังหวัดนครพนมสู่การพัฒนาศักยภาพในการเป็น MICE City 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ การจัดประชุมของจังหวัดนครพนม เพื่อรองรับการเป็น MICE City ของประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ให้บริการในสถานที่จัดงานประชุม ผู้บริหารสถานที่จัดกิจกรรม MICE รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 8 คน และเก็บแบบสอบถามกับผู้ให้บริการ (พนักงาน) ในสถานที่จัดงานประชุม ทั้งหมด 7 โรงแรม จำนวน 200 ชุด ผลสรุปวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากจะเป็นเพศหญิง มีอายุ 25 - 34 ปี การศึกษาอยู่ในระดับอาชีวศึกษา มีอายุการทำงาน 1 - 5 ปี ได้รายได้ต่อเดือนที่ต่ำกว่า 15,000 บาท เมื่อพิจารณาทราบว่าผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญในสถานที่จัดงาน เช่น โต๊ะและเก้าอี้อยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งานและมีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จังหวัดนครพนมมีศักยภาพในการเป็น MICE City ได้ แต่ยังขาดในเรื่องของสถานที่พักและสถานที่จัดงานไม่เพียงพอ รวมถึงการคมนาคมยังไม่ครอบคลุม เช่น รถขนส่งสาธารณะภายในจังหวัด ต้องมีการวางแผนพัฒนาให้เกิดความสะดวกมากขึ้น ทางหน่วยงานภาครัฐควรสร้างความเชื่อมั่นที่จะพัฒนาจังหวัดให้ชัดเจนในการเป็น MICE City และมีกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาเพิ่มขึ้นในการมีกิจกรรมหรือจัดงานที่เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับจังหวัด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว