https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/issue/feed วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ 2024-04-26T00:00:00+07:00 Dr.Poranee Loatong (ดร.ภรณี หลาวทอง) [email protected] Open Journal Systems <p><strong>วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ<br />(</strong><strong>Academic Journal of Management Technology)</strong></p> <p><strong>ISSN XXXX-XXXX (Online)</strong><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ<br />ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p> วารสารที่จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ <strong>โดยตั้งแต่ปี 2567 วารสารมีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ</strong> ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม วารสารจัดพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) และบทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยประเมินแบบ Double-Blind Peer Review (ปิดชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้เขียน)</p> <p><em><strong>***วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ รับพิจารณาบทความที่เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ TCI โดย มุ่งเน้นความโปร่งใส ยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนมีความเสมอภาคกัน และคำนึงถึงคุณภาพของผลงานที่จะตีพิมพ์เผยแพร่*** <br /><a href="https://rmuti365-my.sharepoint.com/:w:/g/personal/krisada_nu_rmuti_ac_th/EaQMnl19hoNMvhukOyf7mfYBiFrVemDHcYCl0Afsuak-Bg?e=BzQdHY">เอกสารดาวน์โหลดเกี่ยวกับข้อมูลวารสาร</a><br /></strong></em></p> https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271064 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้าง ด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป 2023-08-22T10:51:37+07:00 พงศ์ฐนิต หงส์ธีระกุล [email protected] เกียรติชัย วีระญาณนนท์ [email protected] อนันต์ ธรรมชาลัย [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป จำแนกตามคุณลักษณะของธุรกิจ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการจัดการและ ปัจจัยด้านการก่อสร้างที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูป โดยปัจจัยความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจประกอบด้วยด้านต้นทุนต่ำ ด้านความแตกต่าง ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน และด้านการตอบสนองที่รวดเร็ว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจก่อสร้างขนาดกลางจำนวน 210 ราย และขนาดใหญ่ จำนวน 41 ราย รวมทั้งสิ้น 251 ราย จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ความได้เปรียบ ในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปด้านความแตกต่างมีความแตกต่างกันตามทุน จดทะเบียน ในขณะที่ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจด้านต้นทุน ด้านการมุ่งตลาดเฉพาะส่วน และภาพรวมความได้เปรียบในการแข่งขันมีความแตกต่างกันตามจำนวนพนักงาน ในด้านของการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยการจัดการ ได้แก่ การวางแผน การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุมส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจก่อสร้างด้วยระบบโครงสร้างคอนกรีตสำเร็จรูปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยังพบว่า ปัจจัยการก่อสร้าง ได้แก่ ปัจจัยด้านเครื่องจักร วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง และกระบวนการก่อสร้างส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271303 การใช้แนวคิดการบูรณาการเนื้อหาและภาษาร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2023-09-27T11:39:15+07:00 พรรณผกา บุญเผย [email protected] ประหยัด ภูมิโคกรักษ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน จากโรงเรียนประชาสามัคคี ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาบัวบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการสอนแบบการบูรณาการเนื้อหาและภาษา โดยใช้โครงงานเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบการบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทีแบบไม่อิสระ (t - Test for Dependent) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ การอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนหลังจากเรียนแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เรียนมีความคิดเห็นที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน แสดงให้เห็นว่าการเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการเนื้อหาและภาษาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สามารถส่งเสริมผลสัมฤทธิ์การอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนได้</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271828 การพยากรณ์ความต้องการอาหารไก่ที่เหมาะสม สำหรับกรณีศึกษา บริษัทอุ่นเรือนฟาร์ม 88 จำกัด 2023-11-02T05:19:59+07:00 พิมพ์อร เสาหิน [email protected] จตุพัฒน์ วรรณดี [email protected] นุติพงษ์ แก้วจีน [email protected] ณัฐพร ตั้งเจริญชัย [email protected] <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการหาค่าการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอาหารไก่ทั้ง 3 เบอร์ และทำการพยากรณ์ระยะวันเวลาในการจับไก่ โดยการประยุกต์ใช้วิธีการพยากรณ์ทั้ง 4 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) 2) การพยากรณ์แบบเอกซ์โปเนนเชียล (Single Exponential Smoothing) 3) การพยากรณ์โดย วิธีสมการแนวโน้มเส้นตรง (Linear Trend Equations Method) และ 4) การพยากรณ์โดยวิธีสมการแนวโน้มกำลังสอง(Quadratic Trend Equations Method) การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยในครั้งนี้ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Minitab 18)นำข้อมูลที่ได้มาทำการทดสอบวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมจากเกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ คือ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนสมบูรณ์ (Mean Absolute Deviation : MAD) ค่าเฉลี่ยความผิดพลาดกำลังสอง (Mean Squared Error : MSE) และค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage Error : MAPE) ที่มีค่าต่ำที่สุด ผลจากงานวิจัยพบว่า อาหารไก่เบอร์ 511 อาหารไก่เบอร์ 513 และช่วงเวลากำหนดวันจับไก่ มีวิธีการที่เหมาะสมในการพยากรณ์โดยวิธีสมการแนวโน้มกำลังสอง (Quadratic Trend Equations Method) ที่ให้ค่าความแม่นยำในการนำค่าไปเทียบกับปริมาณการบริโภคอาหารไก่จริงในรุ่นที่ 10 คิดเป็นร้อยละเฉลี่ยเท่ากับ 98.21 ซึ่งจะมีเพียงอาหารไก่เบอร์ 510 ที่มีความเหมาะสมกับวิธีการพยากรณ์แบบเอ็กโปแนนเชียล (Single Exponential Smoothing) ที่ให้ค่าความแม่นยำในการนำค่าไปเทียบกับปริมาณการบริโภคอาหารไก่จริงในรุ่นที่ 10 คิดเป็นร้อยละ 92.99 จากการวิเคราะห์วิธีการพยากรณ์ในรูปแบบต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าข้อมูลส่วนมากที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดจะเป็นในส่วนของการพยากรณ์โดยวิธีสมการแนวโน้มกำลังสอง (Quadratic Trend Equations Method)</p> <p> </p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272246 แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ 2023-10-12T10:44:30+07:00 อรนิษฐ์ แสงทองสุข [email protected] ปิยะณัฐ เกียงประสิทธิ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 384 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับแรงสนับสนุนทางสังคม คือ ความรู้สึกนึกคิดหรือการรับรู้ของผู้สูงอายุต่อการได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านต่าง ๆ การตอบสนองความต้องการ การได้รับกำลังใจและการส่งเสริมดูแลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ หมายถึง การได้รับความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ มีความใกล้ชิดความผูกพัน และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 2) การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของ เงินทอง และบริการ หมายถึง การได้รับการช่วยเหลือด้านแรงงาน สิ่งของ เครื่องใช้ เงินทอง และความสะดวกในการรับบริการต่าง ๆ ในชุมชน และ 3) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือ คำแนะนำ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ใน การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจากบุคคลในสังคม อยู่ในระดับมาก ด้านความสุขของผู้สูงอายุ พบว่า ในภาพรวมความสุขของผู้สูงอายุ ตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุ เขตจังหวัดสมุทรปราการ มีความสุขอยู่ในระดับน้อยกว่าคนทั่วไป</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272244 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรม ของประเทศไทย 2023-10-24T05:26:14+07:00 กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล [email protected] ชัยนรินท์ ธีรไชยพัฒน์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรมของประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ คือ เลือกศึกษาเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการประเภทด้านที่พักแรม ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จำนวน 400 คน ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กําหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรม ของประเทศไทยอยู่ในระดับมาก</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272206 ปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2023-11-02T05:18:00+07:00 อรนิษฐ์ แสงทองสุข [email protected] รัชตา กาญจนโรนจ์ [email protected] <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและ การจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1 รหัส 65 ทุกคน มีจำนวนทั้งสิ้น 120 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MGT ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจเท่านั้น วิธีการที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติการทดสอบ ค่าที (t - Test) แบบ Dependent และการทดสอบค่าที (t - Test) แบบ Independent ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษามีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ในระดับมาก สาเหตุเป็นเพราะว่าการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา เป็นกระบวนการสร้างความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของนักศึกษา ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้องเป็นการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วย</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272605 การศึกษาการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว ที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวรถไฟ 2024-01-19T08:52:56+07:00 คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา [email protected] ศรัญญา ศรีทอง [email protected] <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลต่อการรับรู้คุณค่า การท่องเที่ยวรถไฟจำแนกตามเพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษา และศึกษาการจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยวต่อการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวรถไฟ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 385 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ด้วยวิธี Enter โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ รายได้ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวรถไฟในภาพรวมไม่แตกต่างกัน การจัดการโลจิสติกส์ท่องเที่ยว ได้แก่ การไหลทางกายภาพ การไหล ทางการเงิน และการไหลทางข้อมูลส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าการท่องเที่ยวรถไฟอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การไหลทางการเงิน (β = 0.443) การไหลทางกายภาพ (β = 0.124) และการไหลทางข้อมูล (β = 0.106) ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวรถไฟโดยเน้นการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีและสร้างการรับรู้คุณค่าของนักท่องเที่ยว</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/273401 การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดวางตำแหน่งสินค้าคงคลังภายใน คลังสินค้าธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 2023-12-28T09:01:13+07:00 หฤทัยรัตน์ จันต๊ะคาด [email protected] สมควร สงวนแพง [email protected] กำพล หว่างลี้สกุล [email protected] นิวัฒน์ชัย ใจคำ [email protected] <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตำแหน่งการจัดวางสินค้าคงคลังปัจจุบันของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเพื่อปรับปรุงตำแหน่งการจัดวางสินค้าคงคลังที่เหมาะสมของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงตำแหน่งการจัดวางสินค้าคงคลังตามหมวดหมู่ประเภทสินค้า สอดคล้องกับหลักการเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตูและการจัดแนวทแยงมุมกับประตู การศึกษานี้รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และแบบสอบถาม จากพนักงานคลังสินค้า ณ ศูนย์การค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นคณะผู้วิจัยประยุกต์ใช้การควบคุมด้วยการมองเห็นเพื่อบ่งชี้ตำแหน่งการจัดวางสินค้าคงคลัง ผลการวิจัยสามารถลดระยะเวลาที่ใช้ในการค้นหาและหยิบสินค้าตามคำสั่งซื้อ ร้อยละ 19.29 ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในคลังสินค้าของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ นอกจากนี้ ผลการวิจัยพบว่าพนักงานคลังสินค้ามีความพึงพอใจอย่างมากต่อการปรับปรุงโดยมีอัตราความพึงพอใจ ร้อยละ 97.00 การศึกษานี้ให้ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าสำหรับการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลังด้วยการย้ายตำแหน่งสินค้าคงคลังภายในคลังสินค้าอย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น ภาคธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ยังสามารถใช้เป็นแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานคลังสินค้าได้ในท้ายที่สุด</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272341 คุณลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความเครียด ในการทำงาน : กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา 2023-10-24T05:25:15+07:00 ประภัสรวี สุกใส [email protected] ชาตยา นิลพลับ [email protected] <p>งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของคุณลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และความเครียดในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาคุณลักษณะงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อความเครียดในการทำงานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 303 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนระดับความคิดเห็นต่อความเครียดในการทำงานอยู่ในระดับน้อย และ 2) คุณลักษณะงาน ด้านความสำคัญของงาน ส่งผลเชิงบวกต่อความเครียดในการทำงาน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 ขณะที่ด้านผลสะท้อนจากงาน ส่งผลเชิงลบต่อความเครียดในการทำงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านโอกาสก้าวหน้าในการทำงาน และด้านองค์การและการจัดการ ส่งผลเชิงลบต่อความเครียดในการทำงาน มีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ โดยตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันกำหนดทำนายความเครียดในการทำงานได้ ร้อยละ 24.60 (AdjR<sup>2</sup> = 0.246) ทั้งนี้ผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานบุคคลและการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อลดความเครียดในการทำงานของพนักงาน</p> 2024-04-26T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์