วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt <p><strong>วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ<br />(</strong><strong>Academic Journal of Management Technology)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-8317 (Online)</strong><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ<br />ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม</p> <p> วารสารที่จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ <strong>โดยตั้งแต่ปี 2567 วารสารมีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ</strong> ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม วารสารจัดพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) และบทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยประเมินแบบ Double-Blind Peer Review (ปิดชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้เขียน)</p> <p><em><strong>***วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ รับพิจารณาบทความที่เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ TCI โดย มุ่งเน้นความโปร่งใส ยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนมีความเสมอภาคกัน และคำนึงถึงคุณภาพของผลงานที่จะตีพิมพ์เผยแพร่*** <br /><a href="https://rmuti365-my.sharepoint.com/:b:/g/personal/sornanong_ma_rmuti_ac_th/EZ45i2NNwBBMtpvO4_4qrS4BzJKDPUjW-gTqMwYBXmCNMw?e=4eHkKm" target="_blank" rel="noopener">เอกสารดาวน์โหลดเกี่ยวกับข้อมูลวารสาร</a><br /></strong></em></p> Faculty of Management Technology, Rajamangala University of Technology Isan Surin Campus th-TH วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ 3027-8317 <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> ปัจจัยของโครงสร้างเงินทุนและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271514 <p>การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยของโครงสร้างเงินทุนและการบริหารเงินทุนหมุนเวียน ที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง โดยเก็บข้อมูลจากงบการเงิน รายงานประจำปี (แบบ 56 - 1) และหมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นรายปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 - 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 92 บริษัท การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สมการถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยของโครงสร้างเงินทุนที่ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย 1.1) ขนาดของบริษัท ส่งผลเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 1.2) อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นส่งผลเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 1.3) สภาพคล่องทางการเงินส่งผลเชิงบวกต่ออัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ 2) ปัจจัยของการบริหารเงิทุนหมุนเวียนที่ส่งผลเชิงบวกต่อความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย 2.1) วงจรเงินสดส่งผลเชิงบวกต่อ อัตรากำไรสุทธิ อัตรากำไรขั้นต้น 2.2) อัตราส่วนยอดขายต่อสินทรัพย์หมุนเวียนส่งผลเชิงบวกต่ออัตรากำไรสุทธิ อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ ในขณะที่การเติบโตของยอดขาย ไม่ส่งผลต่ออัตรากำไรสุทธิ อัตรากำไรขั้นต้น อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นและอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์</p> <p> </p> ธมลวรรณ กุลวิจิตร พรรณทิพย์ อย่างกลั่น Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 1 14 10.14456/ajmt.2024.10 ปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือน Virtual Reality (VR) ของวัยรุ่น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272719 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือน Virtual Reality ของวัยรุ่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือนVirtual Reality ของวัยรุ่น 2) เพื่อศึกษาความตั้งใจในการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือน Virtual Reality ของวัยรุ่น และ 3) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือน Virtual Reality ของวัยรุ่น เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัจจัยด้านความตั้งใจที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผู้ตอบแบบสอบถาม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานด้านการรับรู้ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อโลกเสมือน Virtual Reality ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า ผู้ประกอบการสามารถนำวิจัยนี้ไปพัฒนาในส่วนประสมทางการตลาด ช่องทางจำหน่ายผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ให้หลากหลายและเข้าถึงลูกค้า ปัจจัยความตั้งใจที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าโลกเสมือน Virtual Reality ผู้ประกอบการสามารถนำไปพัฒนาสินค้าโลกเสมือนให้มีความดึงดูดหน้าสนใจ การวิจัยครั้งนี้ ในส่วนของปัจจัยการรับรู้ ด้านการรับรู้และรู้สึกผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นในเรื่องการออกแบบให้ตรงความต้องการของลูกค้ารวมถึงฉากวิวทิวทัศน์ในโลกเสมือนที่ไม่เป็นไปตามความรู้สึกของผู้ใช้งาน</p> ปัณณธร บุญผ่อง ภิญญมาศ เฮ๋อ พวงเพชร สุขประเสริฐ Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 15 28 10.14456/ajmt.2024.11 การวิเคราะห์ศักยภาพอาหารพื้นถิ่นเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271894 <p>การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดสุรินทร์ และวิเคราะห์ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดสุรินทร์ เป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอาหารใน จังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสำรวจภาคสนาม การสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แบ่งผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวด้านอาหารในพื้นที่ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ เป็นอาหารพื้นถิ่นที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ได้แก่ แกงคั่วหอยขม แกงขี้เหล็ก กบทอด ปลาทอด แมลงทอด ป่น แจ่ว ข้าวต้มมัด ผัก และผลไม้ 2) ผลการวิเคราะห์ SWOT จุดแข็ง คือ มีสถานที่ท่องเที่ยว ที่โดดเด่นภายในตำบล ได้แก่ ศูนย์คชศึกษา สุสานช้าง วังทะลุ มีกิจกรรมการแต่งกายและอาหารท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ มีการถ่ายทอดภูมิปัญญา และประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น จุดอ่อน คือ ขาดการบริหารจัดการการท่องเที่ยว แบบเชื่อมโยง ผลผลิตทางการเกษตรไม่สามารถสร้างรายได้ ชุมชนขาดความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวไม่สามารถสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ประกอบด้วย ชุดอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับรสชาติของอาหารตามวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้าน ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยว และส่งผลต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่น และยังเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาด้านอาหารท้องถิ่นไปสู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ ป้องกันไม่ให้ภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นบางชนิดสูญหายไปในอนาคตอีกทั้งยังสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติที่ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม</p> อลิศรา ธรรมบุตร ศิวธิดา ภูมิวรมุนี ชนิสรา เพชรพิเศษศักดิ์ สุกัญญา ปลายงาม Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 29 44 10.14456/ajmt.2024.12 การพัฒนาและสร้างช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมหลังโควิด - 19 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/272984 <p> การพัฒนาและสร้างช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์พื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมหลัง COVID - 19 ดำเนินการภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG เป็นโครงการที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID - 19 โดยการสนับสนุนชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และสร้างช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และ 2) สร้างช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ชาวบ้านตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 80 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ถูกพัฒนาขึ้น มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ถ่านอัดแท่งและถ่านดูดกลิ่นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการเป็นเชื้อเพลิงในการทำอาหาร และการดูดกลิ่นอับเหม็นในสถานที่ต่าง ๆ และ 2) ช่องทางการตลาด 2 ช่องทาง คือ 1) การตลาดออฟไลน์ ได้แก่ ตลาดสินค้าเกษตรชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เช่น ตลาดกรีนมอ ตลาดเขียวเกษตรอินทรีย์ และ 2) การตลาดออนไลน์ ได้แก่ ทำการตลาดบนเพจเฟซบุ๊ค และแอปพลิเคชันติ๊กต๊อก U2T For BCG ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ดังนั้น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการสร้างช่องทางการตลาด จึงเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำมา จัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างตลาดภายในชุมชนและตลาดภายนอกชุมชน โดยสามารถสร้างการรับรู้และการตอบสนองต่อ ความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม สร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของชุมชนต่อไป</p> อัษฎา วรรณกายนต์ นิคม ลนขุนทด เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน สุรเชษฐ์ วรศรี สุชาติ ดุมนิล อภิชัย ไพรสินธุ์ แก้วตา ดียิ่งศิริกุล ลลิลทิพย์ รุ่งเรือง ปัทมาพร ท่อชู Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 45 60 10.14456/ajmt.2024.13 ผลกระทบของนวัตกรรมการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/277133 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทดสอบผลกระทบและเปรียบเทียบนวัตกรรมการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนใตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำแนกตามคุณลักษณะของธุรกิจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย จำนวน 172 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ซึ่งนวัตกรรมการบัญชีได้ถูกกำหนดเป็นตัวแปรอิสระที่มีความสัมพันธ์และผลกระทบกับความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนใตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมการบัญชี ด้านการขับเคลื่อนเชิงพลวัตของระบบสารสนเทศทางบัญชี ด้านประสิทธิผลข้อมูลทางการเงิน และด้านการบริหาร ความเสี่ยงและควบคุมภายใน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จอย่างยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะเดียวกันตัวแปรที่มีผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ นวัตกรรมการบัญชี ด้านการบูรณาการเทคโนโลยี ดังนั้นผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยควรให้ความสำคัญนวัตกรรมการบัญชี โดยใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงนวัตกรรมการบัญชีและใช้เป็นข้อสนเทศ ในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ให้เกิดความได้เปรียบเชิงการแข่งขันได้ เพื่อช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรจนเกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้</p> กรรณิการ์ กำเนิดบุญ สุวรรณ หวังเจริญเดช Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 61 77 10.14456/ajmt.2024.14 การรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษาในนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/274580 <p> การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่และการตัดสินใจซื้อและการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของนักศึกษาในนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิชาชีพในนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 385 ราย มีการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านภาพลักษณ์องค์กรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์/บริการและด้านภาพลักษณ์ตรายี่ห้อ ตามลำดับ และระดับการตัดสินใจซื้อ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่าการรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านภาพลักษณ์ตรายี่ห้อและด้านภาพลักษณ์องค์กรมีความสัมพันธ์ ทิศทางบวกกับการตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผลการวิเคราะห์ การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า การรับรู้ภาพลักษณ์ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ มีด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์/บริการและด้านภาพลักษณ์องค์กรมีผลต่อการตัดสินใจซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 </p> นภาพร วงษ์วิชิต บิลลี่ อะโคดมี ซัลมา ปาทาน มะนีวอน แดนอุไท จิดใจ วันนะไช Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 78 90 10.14456/ajmt.2024.15 การตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อสุราของผู้บริโภคในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/277532 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ และความตั้งใจในการซื้อสุราของผู้บริโภค ในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ต่อความตั้งใจในการซื้อสุราของผู้บริโภค ในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน การศึกษานี้ใช้วิธีการเชิงปริมาณ โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้บริโภคที่ซื้อสุราในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริโภค 387 ราย และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจผ่านแบบสอบถามออนไลน์ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเทคนิคการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ เปอร์เซ็นต์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบ มาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับสูง องค์ประกอบทุกด้านของการตลาดผ่านสื่อสังคม ได้แก่ ความบันเทิง การโต้ตอบ ความทันสมัย การปรับแต่ง และการบอกต่อ มีคะแนนเฉลี่ยในระดับสูงเช่นกัน ในขณะเดียวกัน ค่าเฉลี่ยของความตั้งใจในการซื้อสุราของผู้บริโภคโดยรวมมีการรายงานอยู่ในระดับสูง นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการตลาดผ่านสื่อสังคมมีผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อความตั้งใจในการซื้อสุราของผู้บริโภค การตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์สามารถคาดการณ์ความตั้งใจซื้อสุราของผู้บริโภคได้ร้อยละ 56.90 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษานี้นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับธุรกิจสุรา โดยการระบุกลยุทธ์ ที่มีอยู่ของการตลาดบนสื่อสังคมออนไลน์ ความสำคัญของการใช้สื่อสังคมในการกระตุ้นความตั้งใจซื้อสุราของผู้บริโภคได้ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสุราสามารถปรับกลยุทธ์การตลาดของตนให้เหมาะสมได้</p> ดิง ไจยู ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์ อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 91 102 10.14456/ajmt.2024.16 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271768 <p>ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี มียอดจดทะเบียนรถยนต์รวมทุกประเภท ณ สิ้นเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2565 มากกว่า 247,447 คัน โดยเป็นรถไฟฟ้าและไฮบริด เพียง 2,397 คัน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.97 ของรถยนต์ที่จดทะเบียนทั้งหมด ซึ่งกระบวนการตัดสินใจ ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายเหตุผล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของส่วนประสม ทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี การรับรู้คุณค่าตราสินค้า ที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในเขตจังหวัดอีสานใต้ของประเทศไทย และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องแบบจำลองปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชน ในเขตจังหวัดอีสานใต้ของประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 380 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการตัดสินใจ (DEC) ได้รับอิทธิพลสูงสุดจากการรับรู้คุณค่าตราสินค้า (BRA) มีค่าอิทธิพล 0.68 รองลงมาคือ ส่วนประสมทางการตลาด (MAR) มีค่าอิทธิพล 0.24 และการยอมรับเทคโนโลยี (TEC) มีค่าอิทธิพล 0.21 ซึ่งเป็นอิทธิพลทางตรงทั้งหมด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และแบบจำลองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าดัชนีชี้วัดความกลมกลืนผ่านเกณฑ์การยอมรับทุกค่า</p> สุภัทรา สงครามศรี ฐกร กิจอานันท์ Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 103 116 10.14456/ajmt.2024.17 การวิเคราะห์การจัดการความรู้และผลที่มีต่อความสามารถหลักของบริษัทก่อสร้างในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/277372 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับระดับการจัดการความรู้ของบริษัทก่อสร้างของจีน ในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถหลักของบริษัทก่อสร้างของจีนในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน และ 3) เพื่อศึกษาผลของการจัดการความรู้ที่มีต่อความสามารถหลักของบริษัทก่อสร้างของจีนในเมืองกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยประชากรในการวิจัย ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานในบริษัทก่อสร้างซึ่งดำเนินธุรกิจในเมืองกุ้ยหยาง ประเทศสาธารณรัฐจีน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 352 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลโดยรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ของบริษัทก่อสร้างซึ่งประกอบด้วยการได้มาซึ่งความรู้ การจัดเก็บความรู้ การใช้ความรู้ และการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ความสามารถหลักของบริษัทโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้ การจัดการความรู้ส่งผลต่อความสามารถหลักของบริษัททั้งความสามารถทางการตลาดและความสามารถทางเทคโนโลยี ที่ร้อยละ 50.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการการจัดการความรู้เพื่อให้สามารถส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถหลักของบริษัท ในภาคธุรกิจก่อสร้างได้ต่อไป</p> หยวน รุยซวง ชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์ ปีย์วรา พานิชวิทิตกุล Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 117 128 10.14456/ajmt.2024.18 ผลกระทบของทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติทางบัญชีบริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/277413 <p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติ ทางบัญชีบริหารของบริษัทจดทะเบียนใตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีบริหารดิจิทัลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 269 แห่ง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลวิจัยพบว่า 1) ทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัล ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติทางบัญชีบริหาร ด้านประสิทธิภาพการวางแผน และด้านการตัดสินใจที่ดี 2) ทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัล ด้านทักษะการเป็นคู่คิดผู้บริหาร มีผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติทางบัญชีบริหาร ด้านประสิทธิภาพการวางแผน และ ด้านการบรรลุเป้าหมายการควบคุม 3) ทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัล ด้านทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัต มีผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติทางบัญชีบริหาร ด้านการตัดสินใจที่ดี รวมทั้งด้านการบรรลุเป้าหมายการควบคุม และ4) ทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัล ด้านทักษะและความรู้ทางวิชาชีพ ส่งผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จในการปฏิบัติทางบัญชีบริหาร ด้านการบรรลุเป้าหมายการควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระ ทักษะนักบัญชีบริหารดิจิทัล ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการเป็นคู่คิดผู้บริหาร และด้านทักษะการเรียนรู้เชิงพลวัต คิดเป็นร้อยละ 31.29 ทั้งนี้ผู้บริหารฝ่ายบัญชีของบริษัทสามารถนำผลการวิจัยเป็นแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพได้</p> ฐานิตา ดงยางวัน สุวรรณ หวังเจริญเดช กฤตยาวดี เกตุวงศา Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 129 143 10.14456/ajmt.2024.19 กรอบแนวคิดนวัตกรรมบุคคล การแบ่งปันความรู้ และประสิทธิภาพ ในการทำงานของ SMEs https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/271028 <p>ปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่หยุดนิ่งทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวให้เกิดการร่วมสมัย นวัตกรรมบุคคลและการแบ่งปันความรู้ มีบทบาทสำคัญในการยกระดับประสิทธิภาพของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) การสร้างกรอบแนวคิดที่ครอบคลุมซึ่งสังเคราะห์วรรณกรรมทางวิชาการที่มีอยู่เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างนวัตกรรมบุคคล การแบ่งปันความรู้ และประสิทธิภาพในการทำงาน กรอบงานระบุ สามมิติที่เชื่อมโยงกัน 1) นวัตกรรมบุคคล คือ ลักษณะส่วนบุคคล การเตรียมพร้อมสู่อนาคตและโอกาสใหม่ การคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางสังคม เครือข่ายและเทคโนโลยีสุดท้ายคือ ความรู้และวิชาชีพ 2) การแบ่งปันความรู้คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสกัดความรู้ออกจากตัว การรวบรวมความรู้ และการผนึกฝังความรู้ และ 3) ประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งปริมาณ คุณภาพ และเวลา ถือเป็นสิ่งสำคัญอันยิ่งใหญ่สำหรับการตรวจสอบเชิงประจักษ์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทของ SMEs ไทยไม่เพียงแต่ตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัยในทันทีเท่านั้น แต่ยังเป็นรากฐาน ที่มั่นคงสำหรับการศึกษาในอนาคต ซึ่งจะมีส่วนร่วมในการทำความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกลยุทธ์การจัดการ SMEs ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จาก นวัตกรรมบุคคลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งการแบ่งปันความรู้ จะช่วยกำกับให้เกิดประสิทธิภาพ และท้ายที่สุดสร้างความสำเร็จและได้เปรียบในการแข่งขันต่อไป</p> กรกนก ดลโสภณ สุกัญญา ดวงอุปมา เพ็ญสิริ ภูวรกิจ Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 144 157 10.14456/ajmt.2024.20 การปรับตัวของธุรกิจกาแฟเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/273002 <p>การบริโภคกาแฟเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งกาแฟไม่ได้เป็นเพียงเครื่องดื่มที่ทำให้ตื่นตัวเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องดื่มที่มีความหลากหลายและสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย ส่งผลให้มีการลงทุนในธุรกิจกาแฟเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ธุรกิจกาแฟเล็งเห็นโอกาสและมีการปรับตัวสู่การเป็น แหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับร้านกาแฟเพื่อเพิ่มศักยภาพในการกระจายรายได้สู่ชุมชนและขยายโอกาสการเติบโต จนทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะได้ทั่วโลก บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวโน้ม การเติบโตและการพัฒนาธุรกิจกาแฟอย่างยั่งยืน โดยการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาทำการวิเคราะห์ซึ่งจะกล่าวถึงวัฒนธรรมกาแฟ วิวัฒนาการการบริโภคกาแฟ ธุรกิจกาแฟและการส่งเสริมการท่องเที่ยว ธุรกิจกาแฟและความยั่งยืน และตัวอย่างธุรกิจกาแฟที่มีความยั่งยืน ซึ่งได้แสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจ มิติสังคมและวัฒนธรรม และมิติสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน จากการศึกษาพบว่า ธุรกิจกาแฟมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก ทั่วโลก เนื่องจากการดื่มกาแฟกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต และมีศักยภาพสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคม และสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนอย่างแท้จริงได้ ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และทางเลือกใหม่สำหรับการท่องเที่ยวไทย เกษตรกร ชุมชน และนักลงทุน ในการตัดสินใจลงทุนเริ่มทำธุรกิจกาแฟที่มีความยั่งยืนและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างความพร้อมในทุกภาคส่วนสู่ความร่วมมือในการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจกาแฟให้มีความยั่งยืนได้ในอนาคต</p> กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล สิรินทรา สังข์ทอง นิมิต ซุ้นสั้น Copyright (c) 2024 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-08-31 2024-08-31 5 2 158 169 10.14456/ajmt.2024.21