วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt
<p><strong>วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ<br />(</strong><strong>Academic Journal of Management Technology)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-8317 (Online)</strong><br /><strong>กำหนดเผยแพร่</strong> <strong>:</strong> ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และ<br />ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน – ธันวาคม</p> <p> วารสารที่จัดทำโดยคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ เป็นวารสารสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รับตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ จำนวน 2 ประเภทบทความ ได้แก่ บทความวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ <strong>โดยตั้งแต่ปี 2567 วารสารมีกำหนดออกปีละ 3 ฉบับ</strong> ได้แก่ ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม วารสารจัดพิมพ์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) และบทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยประเมินแบบ Double-Blind Peer Review (ปิดชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้เขียน)</p> <p><strong>วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ </strong><strong>กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ดังนี้</strong></p> <p> - บทความภาษาไทย บทความละ 3,000 บาท</p> <p> - บทความภาษาอังกฤษ บทความละ 4,500 บาท</p> <p><em><strong>***วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ รับพิจารณาบทความที่เป็นไปตามเกณฑ์คุณภาพของ TCI โดย มุ่งเน้นความโปร่งใส ยึดมั่นในความถูกต้องตามหลักวิชาการ หลักศีลธรรมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถตรวจสอบได้ ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกคนมีความเสมอภาคกัน และคำนึงถึงคุณภาพของผลงานที่จะตีพิมพ์เผยแพร่*** <br /><a href="https://rmuti365-my.sharepoint.com/:b:/g/personal/sornanong_ma_rmuti_ac_th/EZ45i2NNwBBMtpvO4_4qrS4BzJKDPUjW-gTqMwYBXmCNMw?e=4eHkKm" target="_blank" rel="noopener">เอกสารดาวน์โหลดเกี่ยวกับข้อมูลวารสาร</a><br /></strong></em></p>
th-TH
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับคณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p>
poranee.la@rmuti.ac.th (Dr.Poranee Loatong (ดร.ภรณี หลาวทอง))
sornanong.ma@rmuti.ac.th (Sornanong Namwet (ศรอนงค์ นามเวช))
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
OJS 3.3.0.8
http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss
60
-
ผลกระทบของนักลงทุนสถาบันที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผย ข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและ ผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/279403
<p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและผลการดำเนินงานทางการเงิน และ 2) ศึกษาผลกระทบของนักลงทุนสถาบันที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลและผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเก็บข้อมูลจากงบการเงินในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 จากฐานข้อมูลออนไลน์ SETSMART และข้อมูลจากรายงานประจำปี จำนวน 282 ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า การเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล วัดด้วยการได้รับการจัดอันดับใน ESG100 มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานทางการเงินวัดด้วยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบผลกระทบร่วมระหว่างการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาลวัดด้วยการได้รับการจัดอันดับใน ESG100 กับนักลงทุนสถาบันมีผลกระทบเชิงลบกับผลการดำเนินงานทางการเงินวัดด้วยมูลค่ากิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจลงทุนในบริษัทที่มีการเปิดเผยข้อมูล ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีนักลงทุนสถาบันเข้ามามีบทบาทในบริษัทดังกล่าว</p>
มยุรี สุแดงน้อย, กนกนภัส โสเขียว, จิรัฐติกาล วุฒิพันธุ์, มณฑิรา กิจสัมพันธ์วงศ์
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/279403
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินส่งผลกระทบต่อมูลค่ากิจการภายหลัง ปรับใช้ TFRS16 เรื่อง สัญญาเช่า ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยและ เอ็ม เอ ไอ สำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/279264
<p>วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือศึกษาอิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่ากิจการก่อนและหลังการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและ เอ็ม เอ ไอ สำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมบริการ รวมทั้งสิ้น 220 ข้อมูล โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2564 จากฐานข้อมูลออนไลน์ SETSMART และจากรายงานประจำปีของบริษัท สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ก่อนการปรับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่าอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์ และอัตราส่วนวัดความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย มีอิทธิพลเชิงลบต่อมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) หลังการปรับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า พบว่า อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อทำการเปรียบเทียบอิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อมูลค่ากิจการก่อนและหลังการปรับใช้มาตรฐานรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า พบว่า หลังการปรับใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า อัตราส่วนทางการเงิน มีอิทธิพลต่อมูลค่ากิจการในทิศทางที่ลดลง</p>
ชัย พลคำ, กนกนภัส โสเขียว, จิราภา ชาลาธราวัฒน์, มณฑิรา กิจสัมพันธ์วงศ์
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/279264
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
ผลกระทบการควบคุมภายในด้านการเงินภายใต้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/278433
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบการควบคุมภายในด้านการเงินภายใต้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ที่มีต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร สถานศึกษาภาครัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 102 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า การควบคุมภายในด้านการเงิน ด้านการเบิกจ่ายเงิน ด้านการเก็บรักษาเงิน และด้านการจัดทำรายงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลลัพธ์จากการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารตำแหน่งรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร สถานศึกษาภาครัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมภายในด้านการเบิกจ่ายเงินด้านการเก็บรักษาเงิน และด้านการจัดทำรายงาน ในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ถือเป็นระบบใหม่สำหรับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้องค์กรเกิดความมั่นใจ สร้างความปลอดภัยด้านการเงินที่ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับและบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร</p>
นิ่มนวล นาสินพร้อม, กฤตยาวดี เกตุวงศา
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/278433
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
อิทธิพลของความเครียดทางการเงินต่อการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียน ใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสูงที่สุดในปี 2566
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/284806
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดทางการเงิน เปรียบเทียบการวางแผนภาษีของบริษัทจดทะเบียนใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสูงที่สุดในปี 2566 ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สินค้าอุตสาหกรรม และเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และวิเคราะห์อิทธิพลของความเครียดทางการเงินที่มีต่อการวางแผนภาษีของบริษัทดังกล่าว จำนวนประชากร 217 บริษัท โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง คงเหลือจำนวน 160 บริษัท สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ One Sample T-test, Levene, One-Way Anova และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า บริษัทในสามกลุ่มอุตสาหกรรม มีความเครียดทางการเงินในระดับสูง อัตราภาษีที่แท้จริงซึ่งเกิดจากการวางแผนภาษีไม่แตกต่างกัน แต่ต่ำกว่าอัตราภาษีที่รัฐบาลกำหนดอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าความเครียดทางการเงินมีอิทธิพลทางบวกต่อการวางแผนภาษีของบริษัท แสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีความเครียดทางการการเงินอยู่ในระดับสูงจะมีการวางแผนภาษีที่สูงโดยหน่วยงานภาครัฐสามารถใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนแก่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวได้</p>
ภาคภูมิ ยืนยงค์, ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์, อเนก พุทธิดช, สุรชัย เอมอักษร
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/284806
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การเปรียบเทียบวิธีพยากรณ์จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/284830
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ รวมทั้งหาช่วงเวลาการพยากรณ์ล่วงหน้าที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางภายในประเทศและระหว่างประเทศรายวันซึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ระหว่างเดือนมีนาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2567 แบ่งข้อมูลเป็นสองส่วน ข้อมูลชุดแรกระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 นำไปสร้างตัวแบบการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่ วิธีแนวโน้มเชิงเส้น วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล และวิธีแยกองค์ประกอบ ส่วนข้อมูลที่เหลือนำไปตรวจสอบตัวแบบการพยากรณ์เพื่อหาวิธีและช่วงของการพยากรณ์ล่วงหน้าที่เหมาะสมโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์และค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ที่ต่ำที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Microsoft Excel ผลการวิจัยพบว่า วิธีและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้โดยสารเดินทางภายในประเทศ คือ วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียลที่กำหนดค่า a = 0.8 และช่วงการพยากรณ์ล่วงหน้าหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่วิธีและช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์จำนวนผู้โดยสารเดินทางระหว่างประเทศ คือ วิธีปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล ที่กำหนดค่า a = 1.0 และช่วงการพยากรณ์ล่วงหน้าหนึ่งเดือน</p>
พิสิษฐ์ บึงบัว
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/284830
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษาการรับรู้ซอฟต์พาวเวอร์กีฬามวยไทย ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/280304
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ซอฟต์พาวเวอร์กีฬามวยไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในกรุงเทพมหานคร และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยซอฟต์พาวเวอร์กีฬามวยไทย งานวิจัยนี้ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 385 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ มีการตรวจคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีค่าความตรงตามเนื้อหา และ ค่าความเชื่อมั่นเป็น 0.70 และ 0.824 ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุระหว่าง 21 - 30 ปี อยู่ในภูมิภาคยุโรป มีศึกษาในระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานในบริษัทเอกชน มีรายได้ เฉลี่ยต่อปีประมาณ 25,001 - 50,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนใหญ่รู้จักมวยไทยก่อนเดินทางมาประเทศไทย ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ และมองว่าเอกลักษณ์ของมวยไทย คือ ท่าทางแม่ไม้มวยไทย ส่วนมากมีความสนใจที่จะรับชมมวยไทย มองว่ากีฬามวยไทยสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายได้ มีระยะเวลาในการอาศัยอยู่ประเทศไทยต่ำกว่า 7 วัน และคาดหวังที่จะใช้จ่ายกับมวยไทยแต่ละครั้งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 บาท การรับรู้ถึงซอฟต์พาวเวอร์กีฬามวยไทย โดยนักท่องเที่ยวได้รับสิ่งเร้าจากสื่อออนไลน์ การโฆษณา และการประชาสัมพันธ์มากที่สุด และมีการรับรู้ถึงสนามมวยไทยในประเทศไทย โดยตอบสนองออกมาเป็นความสนใจที่จะรับชมกีฬามวยไทย งานวิจัยนี้สามารถนำเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยซอฟต์พาวเวอร์กีฬามวยไทย ได้เป็นคำว่า “MUAY THAI” M (Media), U (Uniqueness), A (Accessibility), Y (Gym), T (Things), H (Health promotion ), A (Attending), I (Inspiring)</p>
วนิดา สุขไสว, สุภัทรา มะปรางทอง, กิ่งกนก เสาวภาวงศ์
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/280304
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
การศึกษาคำปรากฏร่วมของคำศัพท์ทางวิชาการแบบอิงตามคลังข้อมูลในบทความในวารสาร
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/282021
<p>การจัดวางคำร่วมกันเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษเนื่องจากภาษาแม่มีอิทธิพลต่อผู้เรียน การศึกษานี้ใช้รูปแบบคลังข้อมูลในการวิเคราะห์คำนามที่ปรากฏในบทความในวารสาร บทความนี้จะสำรวจความถี่รูปแบบของการจัดวางคำนามร่วมกัน 10 อันดับแรกซึ่งนำมาจากวารสารสามอันดับแรกตามการจัดอันดับวารสาร SCImago (SJR) ระหว่างปีพ.ศ. 2563 ถึง 2564 ข้อมูลจากบทความในวารสารวิชาการ 60 บทความรวบรวมจากการเว็บไซต์ ResearchGate และวิเคราะห์โดยโปรแกรม Antconc เพื่อตรวจสอบความถี่ของคำนาม และ TagAnt เพื่อจำแนกประเภทของคำ การวิเคราะห์รูปแบบการจัดวางได้ชี้ให้เห็นการจัดวางคำนามร่วมกันหลายชุด ซึ่งรวมถึงการจัดวางที่ค่อนข้างจำกัด เช่น ‘foreign + language’, ‘learning + English’ และ ‘participants + in’ และการจัดวางที่ค่อนข้างอิสระ เช่น ‘allow + students’, ‘presenting + learners’, ‘analyze + data’ ผลการวิจัยเหล่านี้ให้คำแนะนำสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษที่ต้องการปรับปรุงกลยุทธ์การเรียนรู้คำศัพท์ของตน</p>
ดวงทิพย์ โอเจริญ, อรอุษา พิมพ์สวัสดิ์
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/282021
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700
-
อิทธิพลขององค์กรแห่งนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรม ของประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/285491
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลขององค์กรแห่งนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานทางธุรกิจของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรมของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกศึกษาเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการประเภทด้านที่พักแรม ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 400 คน โดย ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์หาวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า องค์กรแห่งนวัตกรรมมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมภาคบริการ ประเภทด้านที่พักแรมของประเทศไทย อยู่ในระดับมาก ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05</p>
พูนสวัสดิ์ แก้วเกียรติสกุล, อมรรักษ์ สวนชูผล, สิรินดา คลี่สุนทร, กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล
Copyright (c) 2025 คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jomt/article/view/285491
Wed, 30 Apr 2025 00:00:00 +0700