จริยธรรมการตีพิมพ์บทความ

Publication Ethics

จริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ (Academic Journal of Management Technology)

วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ (Academic Journal of Management Technology) ISSN 2730-2989 (Online) ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ เพื่อรักษาคุณภาพของวารสารและเป็นการรักษามาตรฐานด้านจริยธรรมในการตีพิมพ์ วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ จึงได้กำหนดจริยธรรมในตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการตามบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ของที่ปรึกษา

  1. ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้คำปรึกษา ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของวารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ (Academic Journal of Management Technology) ให้ได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre : TCI)
  2. ที่ปรึกษามีหน้าที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานของวารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ (Academic Journal of Management Technology)

จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสาร

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่รักษามาตรฐานของวารสาร และพัฒนาคุณภาพของวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre : TCI)
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารรับพิจารณาบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
  3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบคุณภาพบทความเบื้องต้นก่อนเข้าสู่กระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ โดยคำนึงถึงเหตุผลทางวิชาการเป็นหลักในการพิจารณาบทความ
  4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่คัดเลือก ประสานงาน และจัดส่งบทความไปยังผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความและอยู่คนละสังกัดกับผู้เขียน
  5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ประสานงาน ติดตาม และจัดส่งข้อเสนอแนะแก่ผู้เขียน เพื่อให้ผู้เขียนได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
  6. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้เขียนให้แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
  7. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องไม่แก้ไขผลการประเมินบทความของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
  8. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารมีหน้าที่ตรวจสอบบทความด้านการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น (Plagiarism) โดยมีการใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ในการตรวจสอบ หากพบว่าบทความดังกล่าวมีผลการคัดลอกผลงานของผู้อื่น บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารจะหยุดกระบวนการประเมินบทความ และติดต่อให้ผู้เขียนชี้แจงทันที หากผู้เขียนไม่มีการชี้แจงตามหลักวิชาการ บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารจะต้องปฏิเสธการตีพิมพ์บทความดังกล่าว
  9. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับทั้งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความและผู้เขียน ตลอดจนต้องไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และต้องไม่นำไปเป็นผลงานของตนเองเด็ดขาด
  10. การตัดสินของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด

จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีหน้าที่ตรวจประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ และไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลทางวิชาการและวิจัยรองรับ มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
  2. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีหน้าที่ประเมินบทความบนหลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความขัดแย้งส่วนตัว
  3. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีหน้าที่รักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่วารสารกำหนด
  4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้อื่นได้รับรู้ และต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ตนเองได้ทำการประเมินโดยเด็ดขาด
  5. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความมีส่วนได้ส่วนเสียในบทความที่ประเมิน ควรดำเนินการแจ้งให้บรรณาธิการทราบโดยทันที และขอปฏิเสธการประเมินบทความนั้น
  6. หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตรวจสอบพบว่า บทความที่รับประเมินเป็นบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น โดยแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์และแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที
  7. การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

จริยธรรม บทบาท และหน้าที่ของผู้เขียน

  1. ผู้เขียนต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมายังวารสารเพื่อตีพิมพ์ เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมทั้งต้องไม่นำต้นฉบับที่ยังอยู่ในกระบวนการประเมินของวารสารไปส่งวารสารอื่น
  2. ผู้เขียนมีหน้าที่ศึกษารายละเอียดคำแนะนำสำหรับผู้เขียน และเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการกำหนด
  3. ผู้เขียนต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการวิจัย
  4. ชื่อผู้เขียนที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในบทความจริง
  5. ผู้เขียนต้องรับผิดชอบข้อความ เนื้อหา รูปภาพ และตาราง ทั้งหมดที่ปรากฏในบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร เป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความแต่เพียงผู้เดียว
  6. ผู้เขียนต้องระบุแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนในการทำวิจัย และระบุผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างชัดเจน (ถ้ามี)
  7. ผู้เขียนต้องดำเนินการแก้ไขบทความตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการวารสาร และผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอย่างครบถ้วน และต้องส่งบทความที่แก้ไขภายในระยะเวลาที่วารสารกำหนด กรณีหากมีเหตุขัดข้องจะต้องแจ้งกับกองบรรณาธิการวารสารทราบทันที
  8. บทความที่ได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
  9. หากผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร หรือผลการวิจัยที่มีประเด็นเปราะบางต่อผู้ให้ข้อมูล หรือการใช้สัตว์ในการวิจัย ผู้เขียนควรดำเนินการตามหลักจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือรับรองจากคณะกรรมการจริยธรมการวิจัยทั้งการวิจัยในมนุษย์ และการวิจัยในสัตว์ ประกอบด้วยทุกครั้ง
  10. การตัดสินของกองบรรณาธิการถือเป็นที่สิ้นสุด

    เอกสารดาวน์โหลดจริยธรรมการตีพิมพ์บทความ