การประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยตนเองในผู้สูงอายุ บ้านหนองบัวหลวง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ จันทร์แอ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จุฑาทิพย์ ศิริศิลป์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • พิทักษ์ชน บุญสินชัย สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ศุภกร แนมพลกรัง แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • กาญจนา คิดดีจริง แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือ
  • ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ฉัตรชนก นุกูลกิจ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • ภานิชา พงศ์นราทร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • นฤวัตร ภักดี สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • กันธิมา เผือกเจริญ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • จรินยา ขุนทะวาด สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • วรินทร์ โอนอ่อน สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

คำสำคัญ:

จังหวัดสกลนคร, ผู้สูงอายุ, โรคข้อเข่าเสื่อม, ศาสตร์แพทย์แผนไทย, อาการเจ็บปวด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยตนเองในผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวนกลุ่มละ 30 คน ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ ซึ่งกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสุขศึกษา ประกอบด้วยการสอนโดยใช้คู่มือท่าบริหารและแผ่นพับการนวดกดจุดตนเองแก้อาการปวดเข่า การสาธิตและฝึกปฏิบัติการบริหารร่างกายและการนวดกดจุดด้วยตนเอง สาธิตวิธีทำและการใช้ยาพอกเข่าสมุนไพร การปฏิบัติตัวในการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมในชีวิตประจำวันเพื่อลดอาการปวดเข่า การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนด้วยสถิติ Paired Sample t-test และ Independent t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองนั้นมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับอาการปวดเข่าและพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดเข่า  การรับรู้ความสามารถตนเองความคาดหวังในผลลัพธ์ การปฏิบัติตัวเพื่อลดอาการปวดเข่าสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาและมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนของระดับความเจ็บปวดเข่าลดลง จากผลของโปรแกรมสุขศึกษานี้สามารถนำไปใช้เพื่อลดอาการเจ็บปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ เมื่ออาการปวดของเข่าลดลงจะส่งผลให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข สามารถไปประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้  ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเบื้องต้นได้อีกด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-04