บทบรรณาธิการ

               ตลอดระยะเวลาที่ “มนุษยสังคมสาร” ได้ผ่านการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หรือ ศูนย์ TCI (Thai-Journal Citation Index Centre) ให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 ตั้งแต่ปี 2565     จนถึง ปี 2567  วารสารวิชาการ “มนุษยสังคมสาร” ก็ได้ดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการตามเกณฑ์มาตรฐานและจริยธรรมการตีพิมพ์ทุกประการ และก็มีความพร้อมในการที่จะเข้าสู่การประเมินวารสารตามเกณฑ์ประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 (พ.ศ. 2568-2572)  ตามกรอบเวลาที่ TCI กำหนดไว้ คือ 1) เปิดรับวารสารเพื่อประเมินคุณภาพในรอบที่ 5 ในช่วงเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567  2) ประเมินคุณภาพวารสารรอบที่ 5 ในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2567 และ 3) ประกาศผลการประเมินคุณภาพวารสารรอบที่ 5 ในเดือนมกราคม 2568

             “มนุษยสังคมสาร” ฉบับที่ 1 ปีที่ 22 (มกราคม-เมษายน) ฉบับนี้ประกอบด้วยบทความจำนวน 12 บทความ โดยทุกบทความได้ผ่านการพิชญพิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) จากหลากหลายสถาบัน จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน และผ่านการตรวจความซ้ำซ้อนด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ โดยผลการตรวจหาการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) ของบทความทั้งหมดในฉบับนี้อยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-10.00 ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่วารสารกำหนดไว้คือมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความซ้ำซ้อนไม่เกินร้อยละ 10 อนึ่ง ในบทความทั้ง 12 บทความนี้       มีจำนวน 1 บทความที่ได้นำเสนอในงานประชุมราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 7 (RUNIRAC VII | SNRU) ในวันที่ 14-16 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แล้ว คือ บทความชื่อ “การเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของผ้าทอลุ่มน้ำโขงจากความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญา” ซึ่งเมื่อส่งบทความนี้มาเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” ทางกองบรรณาธิการวารสารก็ได้แจ้งให้ผู้นิพนธ์ดำเนินการตามเงื่อนไขต่างๆ ของวารสารทุกประการ เช่น ให้ผู้ทรงคุณวุฒิของวารสารจำนวน 3 ท่าน พิชญพิจารณ์บทความใหม่อีกครั้งหนึ่ง ตรวจความซ้ำซ้อนของบทความ และอื่นๆ ที่เห็นสมควร

             สำหรับปกวารสารฉบับนี้ได้ขออนุญาตจากผู้นิพนธ์บทความเรื่อง “การพัฒนาระบบสารสนเทศแผนที่อัจฉริยะเชื่อมโยงความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ข้อมูลชุมชนเป็นฐาน” แล้ว เพื่อนำเสนอออกมาเป็นภาพปกวารสารที่สะท้อนถึงความเชื่อของชาวพุทธอันเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นกับวัฒนธรรมของชุมชน

              กองบรรณาธิการวารสาร ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ที่ได้ประเมินทุกบทความตามหลักวิชาการ ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์บทความ (Authors) จากสถาบันต่างๆ ที่ได้ให้เกียรติและความไว้วางใจทางวิชาการกับ “มนุษยสังคมสาร” ด้วยการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ พร้อมทั้งขอขอบพระคุณกองบรรณาธิการทุกท่านที่ได้ร่วมด้วยช่วยกันบริหารจัดการงานวารสารจนสำเร็จเรียบร้อยด้วยดีมาโดยตลอด ด้วยความทุ่มเทและตั้งใจในการจัดทำวารสารของกองบรรณาธิการและทีมงานทุกคน จึงทำให้มั่นใจได้ว่า “มนุษยสังคมสาร” จะยังคงเป็นวารสารคุณภาพที่จะอยู่เคียงคู่กับนักวิชาการตลอดไปทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

                                          รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม

                                                              บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 28-04-2024

ภาพสะท้อนสังคมจีนที่ปรากฏในประชุมนิทาน “โซวเสินจี้”

วีระชาติ ดวงมาลา, กนกพร นุ่มทอง, เมชฌ เมธจิรนนท์

100-119

แนวคิดในเรื่องสั้นของ จำลอง ฝั่งชลจิตร

ขวัญเรือน ภูธร, บุญเลิศ วิวรรณ์

120-139

A Model Development of Literacy leadership for school administrators

Jiraporn Supising, Somkiet Boonrawd, Suriya Taweeboonyawat, Ponlawat Chaichana, Choocheep Puthaprasert, Sirimas Kosanpipat

181-200

แนวทางการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามและชุมชนใกล้ชิดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิรันดร คำนุ, ธีระพงษ์ มีไธสง, วชิราภรณ์ วรรณโชติ, เมทินี โคตรดี, มนตรี พิมพ์ใจ

221-242