ภาพสะท้อนสังคมจีนที่ปรากฏในประชุมนิทาน “โซวเสินจี้”

Main Article Content

วีระชาติ ดวงมาลา
กนกพร นุ่มทอง
เมชฌ เมธจิรนนท์

บทคัดย่อ

         บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาภาพสะท้อนสังคมจีนที่ปรากฏในประชุมนิทานโซวเสินจี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก นับเป็นวรรณกรรมชิ้นสำคัญที่เป็นต้นแบบ และรากฐานในการพัฒนาวรรณกรรมจีนในยุคต่อมา วิธีการวิจัยเป็นการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัย พบว่า ประชุมนิทานโซวเสินจี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำเสนอภาพเหตุการณ์บ้านเมือง ปรากฏการณ์ในมิติต่าง ๆ ของสังคมในสมัยนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมจีนใน 9 ด้าน ได้แก่ 1) ภาพสะท้อนด้านความเชื่อ 2) ภาพสะท้อนด้านพิธีกรรม 3) ภาพสะท้อนด้านคุณธรรม 4) ภาพสะท้อนด้านศาสนา ปรัชญา 5) ภาพสะท้อนด้านการเมือง การปกครอง กฎเกณฑ์ 6) ภาพสะท้อนด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 7) ภาพสะท้อนด้านการรักษาโรค 8) ภาพสะท้อนสังคมด้วยการสร้างความแตกต่างโดยใช้สัญญะ และ 9) ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรม จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมจีนในประชุมนิทานโซวเสินจี้สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนในสังคมในสมัยนั้นเป็นหลัก แต่จากการวิเคราะห์ไม่พบภาพสะท้อนด้านเศรษฐกิจ การทำสงคราม ซึ่งเห็นได้ชัดว่าผู้ประพันธ์ต้องการนำเสนอให้เห็นถึงภาพสังคมที่เต็มไปด้วยความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับเทพ ภูตผี ปีศาจ และพิธีกรรมต่าง ๆ อันมีที่มาจากความเชื่อเป็นหลัก

Article Details

How to Cite
ดวงมาลา ว., กนกพร นุ่มทอง, & เมธจิรนนท์ เ. (2024). ภาพสะท้อนสังคมจีนที่ปรากฏในประชุมนิทาน “โซวเสินจี้”. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 22(1), 100–119. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2024.6
บท
บทความวิจัย

References

Atthakorn, K. (1996). Folklore. Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]

Boonkhachorn, T. (2004). The Novel and the Thai society 2475-2500 B.E. Faculty of Arts, Chulalongkorn University. [in Thai]

Chaleegul, W. (2017). Strategies for translating cultural word from Thai to English: A case study of the story of Jan Dara by Utsana Phleungtham. MA Dissertation. Thammasat University. [in Thai]

Hou, X. (2004). A Study of the female images in “SouShenJi” 《(搜神记)女性形象研究》.MA Dissertation, NingXia University.

Kettate, B. (1993). Lae Lot Wannakum Thai. Odion Store. [in Thai]

Lu, X. (1996). A brief history of Chinese fiction《中国小说史略》.Oriental Publishing House.

Punnotok, T. (1982). Regional Literature. Odion Store. [in Thai]

Wallipodom, S. (1993). Relationship between nature and the twelfth month ceremony: A case study of the 6th lunar month ceremony. Chulalongkorn University. [in Thai]

Wang, X. (2021). A brief analysis of the connotation of the love between humans and ghosts in "Sou Shen Ji"《浅析《搜神记》中人鬼恋的内涵》. Xin Ji Shi Press.

Xia, Z. (1989). CiHai《辞海》. Lexicographical Publishing House.

Zhong, Q. (2023). From the perspective of the Confucius Institute, "Chinese medicine culture is the integration of doctors and humans"《中医孔子学院视角下“中医药文化是医生与百姓的融合”》. Thailand Journal of Traditional Chinese Medicine, 2(1), 3 -14.