การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึกจุดท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูย บ้านรงระ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชนท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูย 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกชุมชนท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูย และ 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาของที่ระลึกชุมชนท่องเที่ยวตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูย ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสังเกตการณ์ การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการทำแบบสอบถาม ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผลิตผ้าแส่วและของที่ระลึกบ้านรงระ กลุ่มนักท่องเที่ยว และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและการตลาด หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์อัตลักษณ์ชุมชนเพื่อใช้ในการออกแบบกระเป๋าแส่วและตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวต้องการกระเป๋าแส่ว 2 ประเภท คือ กระเป๋าสะพายข้าง และกระเป๋าถือหูยาว ผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและทดสอบความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มนักท่องเที่ยวมีผลการประเมินความพึงพอใจก่อนได้รับการพัฒนาของที่ระลึกตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูยบ้านรงระ โดยเรียงตามลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเหมาะสมต่อการใช้งาน ( =3.8, S.D.=0.5) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบ ( =3.5, S.D.=0.5) และด้านการตลาด ( =3.4, S.D.=0.6) เมื่อผู้วิจัยทำการพัฒนาของที่ระลึกตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูยบ้านรงระ จึงได้ทำการวัดผลการประเมินความ
พึงพอใจอีกครั้ง โดยเรียงตามลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านความเหมาะสมต่อการใช้งาน ( =4.2, S.D.=0.5) รองลงมา คือ ด้านการออกแบบ ( =4.0, S.D.=0.5) และด้านการตลาด ( =3.8, S.D.=0.6) และหากเทียบจากก่อนการพัฒนา พบว่า มีแนวโน้มดีขึ้นทุกด้าน

Article Details

How to Cite
ฉัตรนันทภรณ์ โ. (2024). การศึกษาและพัฒนาของที่ระลึกจุดท่องเที่ยวชุมชนตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวกูย บ้านรงระ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 22(1), 40–59. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2024.3
บท
บทความวิจัย

References

Sanai, K., & Sirithip, K. (2017). The technology transfers of natural dyes of textiles for Tha Moung subdistric, Selaphum distric, Roi Et province. Roi Et Rajabhat University. [in Thai]

Ministry of Tourism and Sport. (2021). Tourism economic review. Economics tourism and sports division. [Pamphlet]

Suwanthada, P., & Sikka, S. (2018). Community Product Design and Development Applying the Cultural Capital and Wisdom: in the Upper Northeastern Region. Art and Architecture Journal Naresuan University, 9(2), 137-155. [in Thai]

Ekwanischa, S. (2020). Research and Development of Weave Leather Bag That Reflects Thai Identity for Leather Business in Thailand [Unpublished master dissertation]. Srinakharinwirot University. [in Thai]

Somthawinpongsai, C., Chanwichian, J., Hirunburana, W., Vongurai, P., Tripaiboon, C. & Sang, T. (2022). Cultural Capital Management for Design Brand of The Community Enterprise Group, Phu Khao Thong Sub-District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Rajapark Journal, 16(46), 465-476. [in Thai]

Srisa-ard, B. (2011). Basic research (5th ed.). Suveeriyasan Co., ltd [in Thai]