แนวคิดในเรื่องสั้นของ จำลอง ฝั่งชลจิตร

Main Article Content

ขวัญเรือน ภูธร
บุญเลิศ วิวรรณ์

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวคิดในเรื่องสั้นของจำลอง  ฝั่งชลจิตร จากรวมเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงและได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531-2562 จำนวน 8 เล่ม รวม 78 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า รวมเรื่องสั้นของจำลอง ฝั่งชลจิตร พบแนวคิด 4 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิดแสดงทัศนะ พบทัศนะต่อค่านิยมของสังคม ได้แก่ ทัศนะต่อค่านิยมของสังคมด้านบวก คือ ค่านิยมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และทัศนะต่อค่านิยมของสังคมด้านลบ ได้แก่ ค่านิยมความเห็นแก่ตัว ค่านิยมความร่ำรวย และความหรูหราฟุ่มเฟือย พบทัศนะต่อการเมืองการปกครอง ได้แก่ การใช้ความรุนแรงทางการเมือง และการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี พบทัศนะด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การเกิดอาชีพใหม่ และปัญหาเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อลูกจ้าง พบทัศนะที่มีต่อปัญหาสังคม ได้แก่ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน และปัญหาอาชญากรรม 2) แนวคิดแสดงพฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมด้านสุขภาพเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร และพฤติกรรมทางศาสนาและความเชื่อ ได้แก่ ประเพณีทางศาสนา ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ความเชื่อเรื่องบุญ และความเชื่อเรื่องโชคลาง 3) แนวคิดแสดงภาพและเหตุการณ์ ได้แก่ ความยากจน การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชน และวิถีชีวิตของคนเมืองกรุงเทพมหานคร และ 4) แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหามลพิษทางน้ำ ปัญหามลพิษทางอากาศ รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

Article Details

How to Cite
ภูธร ข., & วิวรรณ์ บ. (2024). แนวคิดในเรื่องสั้นของ จำลอง ฝั่งชลจิตร. มนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 22(1), 120–139. https://doi.org/10.14456/jhusoc.2024.7
บท
บทความวิจัย

References

Aphapirom, A. (1972). Humans and society: Thai society and culture. Bumrunnukulkij Press. [in Thai]

Fangchonchit, C. (1988). The color of dogs. Praew. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2000). Carbuthzel. Fun to Read. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2005). Ligor, they changed. Praew Publishing House. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2007). Some stories are more suitable to be true. Bangkok: House cat. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2011). Me and the Other Me (Crossing the Abyss of Hate). Rupchan. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2016). My city, my home. Bangkok: Maew Ban. [in Thai]

Fangchonchit, C. (2018). His Majesty the Supreme Patriarch came. Maew Ban. [in Thai]

Mascharat, T. (1997). A guide to writing short stories from proverbs and aphorisms. Ton Or Grammy. [in Thai]

National Artist 2018. (2018). Bangkok: Department of Cultural Promotion. Ministry of Culture. [in Thai]

Onsinil, W. (1996). Analysis of concepts in Sri Daoruang's short stories. Master ofEducation Thesis. Department of Thai Language, Srinakharinwirot University. [in Thai]

Panich, P. (2007). Language and principles of writing for communication.Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Sawatsri, S. (1982). The road that leads to death. Bangkok: Duangkamon. [in Thai]

Serirat, S. (1979). The evolution of short stories in Thailand from the beginning until 1932. Textbook and academic document development section. [in Thai]

Sunthorntham, C. (2001). “ Short stories and novels ” Thai language usage skills. Chiang Mai B.S. Ltd. Printing. [in Thai]

Thongthanom, S. (2001). Analysis of Win's short stories. Ryowarin from 1994 - 1999.Master of Arts Thesis. Thai Language Department, Burapha University. [in Thai]

Thongsawang, T. (1994). Thai society. Odeon Store. [in Thai]