การพัฒนาระบบสารสนเทศแผนที่อัจฉริยะเชื่อมโยงความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยใช้ข้อมูลชุมชนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพลวัตคติชนความเชื่อพญานาคแต่ละพื้นถิ่น 2) พัฒนาระบบสารสนเทศแผนที่อัจฉริยะเชื่อมโยงความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค 3) ส่งเสริมการเรียนรู้และปรับใช้ระบบสารสนแผนที่ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องความเชื่อในเรื่องพญานาค จำนวน 30 คน ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสารสนเทศ จำนวน 150 คน โดยเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดกลุ่มเนื้อหา อธิบายเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พลวัตคติชนความเชื่อพญานาคแต่ละพื้นถิ่น สะท้อนให้เห็นบริบท ภูมิศาสตร์ และกายภาพของพญานาคที่มีความแตกต่างกันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค 2) การพัฒนาระบบสารสนเทศแผนที่อัจฉริยะ ได้นำเสนอความเชื่อมโยงแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนของระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูล 2) พิกัดเพื่อสร้างความเชื่อมโยงด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ความพึงพอใจของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีต่อระบบสารสนเทศแผนที่อัจฉริยะ 3) การเรียนรู้และปรับใช้ระบบสารสนเทศฯ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.67)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Budsachayanon, S. (2017). Dynamics of serpent trend in the era of globalization. Journal of Buddhist Studies Vanam Dongrak, 4(2), 43-61. [in Thai]
Jansuri, A. (2021). Mutelu: Beliefs and tourism. Journal of Arts & Cultural Perception, 20(1), 220-240.
Kanthik, C., & Awadhesh Roy, R. (2015). Nagas in the buddhist scripture: The origin and their Influence on Thai culture. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 6(1), 25-30. [in Thai]
Lakul, A., & Tularak, U. (2017). Tale type and white animal’s motifs in ruined city legends of north eastern regio. Journal of Language, Religion and Culture, 6(2), 37-50. [in Thai]
Noppakor, N., Kheokao, J., & Poomduang, T. (2023). The belief of Naga in Thai society. Journal of Social Science and Cultural, 7(6), 98-108. [in Thai]
Rakngen, A. (2012). Naga: The social consciousness of the Mekong region. Academic Journal of Humanities and Social Sciences Buriram Rajabhat University, 4(2), 20-29. [in Thai]
Rachjun, P. (2021). Selected history: Belief and faith to King of Nagasin the Isan local context. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 387-403. [in Thai]
Rittidet, P. (2001). Than: Fa Khai Pratunam. Journal of Language and Culture, 20(1), 92-92. [in Thai]
Sawangseang, V. (2023). Naga: Belief towards become as a cultural product of Isan. Journal of Philosophy and Religion, Khon Kaen University, 7(2), 80-98. [in Thai]
Singsuwan, A., & Puaksom, D. (2020). From jao poo to phaya sri suddho bodhisattva: a modification of naga cosmology belief of kham chanot people. Humanities and Social Sciences Journal Ubon Ratchathani University, 11(1), 146-175. [in Thai]
Tangseng, T., Mattayomburud, V., & Srisompong, P. (2016). Development of information system for community-based tourism, community-based tourism network Satun province. Thaksin University Journal, 19(2), 67-80. [in Thai]
Tungsibsam, C. (2011). Navigation system for cultural tourism via satellite coordinates. Master of Science Independent Study, Department of Software Engineering, Graduate School Chiang Mai University. [in Thai]
Tangchan, V., Suvachat, N., & Srikamporn, T. (2014). Development of indicators for sustainable Isan cultural tourism along the Mekong river, in Academic Conference on Research Presentation Graduate 15th, Khon Kaen: Khon Kaen University. 22 February 2013, 222-231. [in Thai]
Vechasat, K. (2017). The reflection of Naga in the Tai concepts. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 1099-1116. [in Thai]
Weerasilp, M. (2021). The Naga belief and prophecy in the sacred area of Kham Chanot. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies, 6(1), 165-180. [in Thai]