มนุษยสังคมสาร (มสส.) ปีที่ 22 ฉบับที่ 1
(มกราคม-เมษายน) 2567

 ISSN 2673-0243 (Print)
ISSN 2774-1451 (Online) 

 --------------------------------------------------------------------------------

         “มนุษยสังคมสาร” คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีนโยบายในการรับตีพิมพ์เผยแพร่บทความที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก (Main subject Category) คือ Social Sciences และจะต้องอยู่ใน 3 กลุ่มสาขาวิชา (Subject areas) คือ 1) Arts and Humanities, 2) Economics, Econometrics and Finance, 3)  Social Sciences ซึ่งจะต้องอยู่ใน 5 กลุ่มย่อย (Sub-subject areas) คือ 1) General Arts and Humanities, 2) Language and Linguistics, 3) General Economics, Econometrics and Finance, 4) General Social Sciences, 5) Sociology and Political Sciences

        “มนุษยสังคมสาร” มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ (มกราคม-เมษายน / พฤษภาคม-สิงหาคม / กันยายน-ธันวาคม) แต่อาจจะออกเป็นฉบับพิเศษ (Special issue) ในการร่วมประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติกับทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่เกินปีละ 2 ฉบับ

        ทุกบทความใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องผ่านการพิชญพิจารณ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) ในสาขาที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน อย่างน้อย 3 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความนั้น (Double-blind peer review) ทั้งนี้ เพื่อให้บทความมีคุณภาพและได้มาตรฐานทางวิชาการ บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้นิพนธ์บทความจะต้องปฏิบัติตามระบบการอ้างอิงเอกสารและหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยย่างเคร่งครัด

      ผู้นิพนธ์ที่จะส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” จะต้องส่งผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงาน (Plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ผ่านเว็บไซต์ http://plag.grad.chula.ac.th/ โดยร้อยละของดัชนีความซ้ำซ้อนของบทความไม่เกินร้อยละ 7 ทั้งนี้ ให้ผู้นิพนธ์แนบผลการคัดลอกหรือลอกเลียนผลงานส่งมาที่วารสารพร้อมกับบทความด้วย

      ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ใน “มนุษยสังคมสาร” ทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของ “มนุษยสังคมสาร”  การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตารางที่ปรากฏในบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร วารสารอนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปเผยแพร่ต่อเพื่อประโยชน์ทางวิชาการได้ แต่ต้องแสดงที่มาจากวารสาร โดยห้ามแก้ไขดัดแปลงเนื้อหาใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ ทัศนะและความคิดเห็น ตลอดถึงข้อผิดพลาดใด ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในบทความใน “มนุษยสังคมสาร” ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความนั้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ

คำแนะนำ

2019-07-04

ป้ายคำแนะนำ21.png

คำแนะนำในการจัดเตรียมบทความเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์ใน“มนุษยสังคมสาร (มสส.)”

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

          เมื่อท่านดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสร็จแล้ว ให้ท่านกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน แล้วส่งไฟล์ที่ท่านกรอกข้อมูลแนบพร้อมกับไฟล์บทความ โดยท่านจะต้องเตรียมไฟล์ไว้ 2 ไฟล์คือ

  1. ไฟล์แบบฟอร์มที่ท่านดาวน์โหลดแล้วนำไปกรอกข้อมูล                                  
  2. ไฟล์บทความของท่านที่จะนำมาตีพิมพ์

หมายเหตุ

         

ขอให้ท่านกรอกข้อมูลของท่านด้วยลายมือที่อ่านออก และชัดเจน เพื่อให้กองบรรณาธิการได้รับข้อมูลของท่านอย่างครบถ้วน ส่งไฟล์แบบฟอร์มขอลงบทความ (ไฟล์ pdf) และบทความต้นฉบับของท่าน (ไฟล์ word) ที่

https://www.tci-thaijo.org/index.php/jhusoc/index

  1. ขอให้จัดเตรียมต้นฉบับบทความของท่านตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความของกองบรรณาธิการ “มนุษยสังคมสาร (มสส.)” หากต้นฉบับบทความของท่านไม่เป็นไปตามเกณฑ์ บทความของท่านจะไม่ได้รับการพิจารณาขั้นต่อไป
  2. บทความของท่านต้องผ่านการตรวจสอบความถูกต้องในการใช้ภาษาอังกฤษในส่วนของ Abstract และบทความความภาษาอังกฤษจากผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา พร้อมลงลายมือชื่อรับรอง
  3. ในกรณีที่เป็นนิสิตนักศึกษา บทความของท่านต้องผ่านการรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยลงลายมือชื่อรับรอง

หม่อง2.png

ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (2567): พฤษภาคม - สิงหาคม

           “มนุษยสังคมสาร” ฉบับนี้มาพร้อมกับปกหน้า-หลังที่ออกแบบใหม่เพื่อให้สะท้อนถึงตัวตนของวารสาร ด้วยการใช้อักษรที่อ่านง่ายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และที่สำคัญคือได้ใช้โทนสีหลักๆ คือ สีม่วง-เหลือง ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ และสีแดง ซึ่งเป็นสีประจำของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย “มนุษยสังคมสาร” จะใช้ปกที่ออกแบบใหม่นี้สำหรับทุกฉบับที่เผยแพร่ แต่จะเปลี่ยนเฉพาะในส่วนของตัวเลขปีที่พิมพ์ (Volume) และฉบับที่พิมพ์ (Issue) เท่านั้น

          “มนุษยสังคมสาร” ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2567) ฉบับนี้ประกอบด้วยบทความวิจัย จำนวน 10 บทความ เป็นบทความภาษาไทย จำนวน 8 บทความ และบทความภาษาอังกฤษ จำนวน 2 บทความ โดยแต่ละบทความได้ผ่านการ พิชญพิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) จากหลากหลายสถาบัน จำนวน 3 ท่านตามข้อกำหนด นอกจากนั้น ทุกบทความก็ได้ผ่านการตรวจการคัดลอกผลงานและความซ้ำซ้อน (Plagiarism / Similar index) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์แล้ว และผลการตรวจพบว่าบทความทั้งหมดในฉบับนี้มีความซ้ำซ้อนอยู่ระหว่างร้อยละ 1.00-15.00  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์และเงื่อนไขของวารสารทุกประการ

             กองบรรณาธิการวารสาร ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer reviewer) จากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่ได้ประเมินทุกบทความตามหลักวิชาการ ขอขอบพระคุณผู้นิพนธ์บทความ (Authors) ที่ได้ให้เกียรติและความไว้วางใจทางวิชาการกับ “มนุษยสังคมสาร” ด้วยการส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง พร้อมทั้งขอขอบพระคุณกองบรรณาธิการทุกท่านและทีมงานวารสารทุกคนที่ได้ทุ่มเททำงานเพื่อบริหารจัดการ “มนุษยสังคมสาร” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสร้างความมั่นใจในในด้านคุณภาพวิชาการของวารสารให้กับผู้นิพนธ์ นักวิจัย และนักวิชาการตลอดจนถึงทุกส่วนฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ  ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจในการจัดทำวารสารของกองบรรณาธิการและทีมงานทุกคน จึงส่งผลให้ “มนุษยสังคมสาร” เป็นวารสารที่มีคุณภาพ และสามารถนำองค์ความรู้จากทุกบทความที่ได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนี้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

 

                                                            รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม

                                                                                    บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 27-08-2024

อัตลักษณ์ร่วมของผ้าทอลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว

ปกกสิณ ชาทิพฮด, ญาณิกา แสนสุริวงค์, กิโต่ พมมะไกสอน, ไอลดา ทิพย์เสนา, ยุทธพิชัย วรรณสังข์

1-20

การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 พื้นที่อำเภอวานรนิวาสและอำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร

แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ, ธนกร ราชพิลา, นะกะวี ด่านลาพล, ปกกสิณ ชาทิพฮด, ศศิกานต์ สังข์ทอง, วาสนา แผลติตะ

41-60

ดูทุกฉบับ

ISSN 2673-0243 (Print)
ISSN 2774-1451 (Online)