การเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของผ้าทอลุ่มน้ำโขงจากความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนผ้าทอลุ่มน้ำโขง 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของผ้าทอในชุมชนลุ่มน้ำโขง เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในลุ่มน้ำโขงในประเทศไทย-ลาว ยังคงสืบทอดแนวปฏิบัติการทอผ้ามาจากบรรพบุรุษ และมีความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ จึงได้ประยุกต์เอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนเป็นสีย้อมผ้าเพื่อทอผ้าใช้ในครัวเรือน และเพื่อจำหน่ายในชุมชน โดยการย้อมสีธรรมชาติจากพืชท้องถิ่นนี้เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทั้งนี้ แนวทางการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของผ้าทอในชุมชนลุ่มน้ำโขงไทย-ลาว ได้เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้องค์ความรู้ และทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอด้านลวดลาย และการออกแบบลวดลายเพื่อให้เกิดความแปลกใหม่ และทันสมัยสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการในปัจจุบันได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Bunpat, O., & Kaewnet, P. (2019). Creating the identity of Chiang Saen woven fabric in Chiang Rai province towards increasing the value of tourism products. Dusitani College Journal, 13(2), 117-133. [in Thai]
Chantavanich, S. (2016). Data analysis in qualitative research (12th ed.). Chulalongkorn University. [in Thai]
Chinachan, T. (2023). A product development of Long Li Jok textiles by using community’s cultural Identities. Journal of Social Communication Innovation, 10(1), 168-177. [in Thai]
Khunsawat, C., Yodni, S., & Chaemkrajang, S. (2015). Development of the local wisdom transmission process Thai Kui silk weaving in the southern Isan, Thailand. Journal of Education and Social Development, 11(1), 246-257. [in Thai]
Liapsitrakul, P., Kuanruaddi, H., & Sahairak, K. (2021). The economics value added in local textile and linked to cultural tourism: A case study of kabbaw textile at Uat Yai, Si Muang Mai, Ubon Ratchathani Province. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University, 8(2), 1-16. [in Thai]
Podhisita, C. (2019). Handbook for students and social science researchers (8th ed.). Amarin Printing and Publishing. [in Thai]
Prachawet, P. (2016). Development of the Lamduan flower-shaped mudmee fabric pattern for use in designing woven fabric patterns to make It Unique in Sisaket Province. Journal of Research and Development. Sisaket University, 3(2), 37-47. [in Thai]
Chemsripong, S., & Petmee, P. (2017). Creative value added products from local wisdom: A case study of the ancient cloth. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 10(4), 62-85. [in Thai]