บทบรรณาธิการ

          เป็นเรื่องที่น่ายินดีมากที่วารสารวิชาการ “มนุยษสังคมสาร” ได้รับการพิจารณาให้จัดอยู่ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI “วารสารกลุ่มที่ 1 (TCI Tier 1)” จากการประกาศผลการประเมินคุณภาพวารสารใหม่เข้าสู่ฐานข้อมูล TCI ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index-TCI) ซึ่งผลประเมินคุณภาพวารสารนี้ จะมีระยะเวลาการรับรองคุณภาพวารสารตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 ไปจนถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ผลการประเมินนี้สร้างขวัญกำลังให้กองบรรณาธิการและคณะทำงานของ “มนุษยสังคมสาร” ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์งานวารสารนี้ให้ได้คุณภาพมาตรฐานวิชาการที่สูงขึ้นต่อไป และขอถือโอกาสนี้ ขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้พิชญพิจารณ์บทความ ผู้นิพนธ์ และผู้มีส่วนร่วมทุกท่านในการผลักดัน “มนุษยสังคมสาร” ให้ขึ้นสู่วารสารกลุ่มที่ 1 ในครั้งนี้

          “มนุษยสังคมสาร” ฉบับนี้มีบทความที่ผ่านการพิชญพิจารย์ของผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกจากหลากหลายสถาบัน ทั้งหมดจำนวน 10 บทความ โดยเป็นบทความวิชาการ 1 บทความและเป็นบทความวิจัย 9 บทความ ทุกบทความได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (plagiarism) ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์แล้ว ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของดัชนีความซ้ำซ้อนไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตฐานการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของผลงานวิชาการ ภาพปกของวารสารฉบับนี้ได้นำมาจาก 2 บทความวิจัย ซึ่งได้รับอนุญาตจากผู้นิพนธ์บทความแล้ว คือ บทความเรื่อง “แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต” และ บทความเรื่อง “พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดของคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ จังหวัดระยอง: พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดง”

          กองบรรณาธิการ ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความประจำฉบับที่ 2 ปีที่ 20 ที่ได้พิชญพิจารณ์ทั้ง 10 บทความจนได้มาตรฐานทางวิชาการ และขอขอบคุณผู้นิพนธ์บทความจากหลากหลายสถาบันที่ได้ให้ความสนใจส่งบทความมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน  “มนุษยสังคมสาร” ทางกองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งจะได้รับความไว้วางใจจากนักวิจัยและนักวิชาการส่งบทความด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ครอบคลุม 3 กลุ่มสาขาวิชา (Subject areas) คือ 1) Arts and Humanities, 2) Economics, Econometrics and Finance, 3)  Social Sciences เพื่อมาตีพิมพ์เผยแพร่ใน “มนุษยสังคมสาร” เหมือนเดิม

                                                          รองศาสตราจารย์ ดร.อัครพนท์ เนื้อไม้หอม

                                                                               บรรณาธิการ

เผยแพร่แล้ว: 31-08-2022

การจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความเป็นนวัตกรและผลงานสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน, สุวิมล สพฤกษ์ศรี, สราญจิต อ้นพา, บุญรอด ชาติยานนท์, เอกสิทธิ์ ชนินทรภูมิ, เอกชัย ภูมิระรื่น, เสกสรร สุขเสนา

89-110

ภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมจากคำเรียกขานภาษาจีน

พชรมน ซื่อสัจลือสกุล, วรยศ ชื่นสบาย, วิชมัย อิ่มวิเศษ, แก้วตา ลีลาตระการกุล, อรุณรัตน์ ศรีสุราช

43-64