ลักษณะเนื้อหาทางการกีฬาในเว็บไซต์ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเนื้อหาทางการกีฬาในเว็บไซต์ ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชัยภูมิ เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา ใช้วิธีการการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัย และมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามออนไลน์ 420 คน พบว่า แนวทาง การนำเสนอลักษณะเนื้อหาทางการกีฬา ควรจะเชื่อมโยงถึงปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ การเผยแพร่เนื้อหาในเว็บไซต์ควรจะเป็นไปตามระยะเวลาและเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ควรจัดหมวดหมู่ แยกประเภทเนื้อหา ทั้งนี้เนื้อหาทางการกีฬา ประกอบไปด้วย 3 ด้าน คือ ความรู้ ทักษะ และคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ การออกกำลังกายที่ถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพของนักกีฬา ทักษะการเล่นกีฬา การฝึกเทคนิคและทักษะในแต่ละชนิดกีฬา เทคนิคในการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพของนักกีฬา วิธีป้องกันการบาดเจ็บทางการกีฬาในชนิดกีฬาต่างๆ การมีน้ำใจนักกีฬา การเล่นตามกฎ กติกา มารยาท และเนื้อหาเกี่ยวกับมารยาทในการชมกีฬา โดยชนิดและประเภทกีฬาที่ต้องการให้นำเสนอ 5 อันดับแรก คือ มวยไทย ฟุตบอล ฟุตซอล ว่ายน้ำ และเซปักตะกร้อ ในด้านรูปแบบการนำเสนอ ควรจะมีการนำเสนอในรูปแบบ บทความที่มีข้อความประกอบกับวีดิทัศน์ บทความที่มีข้อความประกอบภาพถ่าย และกิจกรรมการตอบคำถาม/เกม ในด้านการผลิตเนื้อหาทางการกีฬานั้น ควรจะผลิตขึ้นมาเองเป็นส่วนใหญ่ โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Apavate, W. (2014). Principle of advertising and public relations (2nded.). Bangkok: Odeonstore. [in Thai]
Boonchutima, S. (2018). Utilization of media for public relations. Bangkok: 21st century. [in Thai]
Kerdvibulvech, C. (2017). New digital media…media for the future (2nded.). Bangkok: National Institute of Development Administration Press. [in Thai]
Pitpreecha, R. (2013). The power of public relations. Bangkok: 2 st century. [in Thai]
Puksawat, A. (2017). Strategic public relations innovation through online social network communication. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]
Srisa-ard, B. (2013). Introduction to research (9thed.). Bangkok: Suweeriyasarn. [in Thai]
Thailand National Sports University ACT B.E. (2019). Government Gazette. Vol. 139 Part 67a, Special Issue. 127 - 157. [in Thai]
Yaipairoj, N. (2014). Digital marketing: Concept & case study. Nonthaburi: IDC. [in Thai]