แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

จารุณี คงกุล

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งประวัติศาสตร์ หาแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินคุณภาพสื่อประชาสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย วัดพระทอง อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก (โคกพม่า) วัดพระนางสร้าง บ้านท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร (รนย่าจัน) วัดม่วง โกมารภัจจ์ นบนางดัก และสุสานแม่หม้าเสี้ย ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 3.67) สำหรับแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว ควรได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ และเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ควรมีป้ายบอกสถานที่ การเพิ่มแสงสว่าง และสื่อประชาสัมพันธ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรเพิ่มบุคลากรดูแล ด้านการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว ควรเพิ่มกิจกรรมให้หลากหลายและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอื่น ควรมีงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาอาชีพ ผลิตภัณฑ์ มัคคุเทศก์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน เส้นทางท่องเที่ยว การจัดรถโพถ้องเป็นพาหนะนำเที่ยว ด้านการปลูกจิตสำนึก ควรร่วมกันรักษาและอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ สถาบันการศึกษาควรนำนักเรียนมาศึกษาในแหล่งประวัติศาสตร์ ในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ พบว่า สื่อวีดิทัศน์มีความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.17) คือ ชื่อ เนื้อหาน่าสนใจ และใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Committee of Documents and Archives. (2001). Culture, historical development identity and wisdom of Phuket Province. Bangkok: Fine

Arts Department. [in Thai]

Kongsiri, S. (2017). Guidelines for developing the potential of historical tourist attractions: Khlong Thom Museum Khlong Thom District

Krabi Province. Journal of Social Sciences and Buddhist Anthropology, 1(1), 21 - 26. [in Thai]

Noknoi, J. (2022). Potential of historical tourist attractions in the perspective of local people: Tang Daeng Historical Park. Journal of

Economics and Business Administration Thaksin University, 14(1), 141 - 166. [in Thai]

Phoompoothavorn, R. (2007). Phuket (9th ed.). Phuket: Phuket Blueletin Co., Ltd [in Thai]

Phralabraksa, N. (2016). Producing multimedia media to disseminate local wisdom

through community participation. Faculty of Information Technology Research. Maha Sarakham: Maha Sarakham Rajabhat

University. [in Thai]

TAT Review Magazine. (2020). Presentation to tourism promotion direction of TAT in 2020. https://is.gd/hAMphZ [in Thai]

Thailand Tourism Directory. (2020). Thalang victory monument. https://is.gd/l2avvR/ [in Thai]

Thep Krasattri Subdistrict Municipality. (2020). Culture, way of life and wisdom of Thalang Ban Khian. Phuket: Patong Offset Place Co.,

Ltd. [in Thai]