พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดของ คณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่อง พิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดของคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงรำสวดและศึกษาพิธีกรรมและความเชื่อในการแสดงรำสวดคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าคณะอรชุน ลูกสุนทรภู่ คือ ครูทรงศักดิ์ บรรจงกิจ คณะรําสวดนี้ได้รับว่าจ้างไปแสดงในงานสวดหน้าศพและงานแสดงโอกาสอื่น ๆ บทสวดเป็นเรื่องราวในวรรณคดีเป็นส่วนใหญ่ ในด้านดนตรีพบว่าเพลงที่นำมาใช้มีความคล้ายคลึงกับทำนองเพลงไทยและเพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน เพลงในพิธีกรรมบทร้องมีเนื้อหาสาระสะท้อนความเชื่อทางพุทธศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ 4 อย่าง คือ ตะโพน กลองบองโก้ ฉิ่งและกรับ การสวดสั่งเปรตเป็นพิธีที่สำคัญของคณะ โดยเชื่อว่าเป็นการชี้นำให้ผู้ตายได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี เพื่อเป็นกุศโลบายให้กับคนที่มีชีวิตอยู่ได้รู้จักบาปบุญคุณโทษ อีกทั้งทางคณะยังมีการไหว้ครูประจำปี เชื่อว่าเมื่อได้มาเข้าพิธีไหว้ครูครอบครูแล้วจะทำให้เกิดสิริมงคลกับตนเอง และยังเป็นการพบปะสังสรรค์กับนักแสดงรำสวดรุ่นอื่น ๆ มีการใช้เครื่องบูชาครูประกอบพิธี โดยเชื่อว่าจะปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากร่างกายและช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น พิธีกรรมและความเชื่อของคณะนี้จึงได้รับการสืบทอดมาและยังปฏิบัติสืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น
References
Bissuri, A. (2015). Rum Suad of Krusakhon Prajong troupe from Ban Khai district in Rayong province, [Master's thesis]. Bankok:
Chulalongkorn University. [in Thai]
Binson, B., Pornprasit, K., Puchadapirom, P., & Rodchangphuen, P. (2006). Thai music culture central and south east: Rituals and
beliefs related to the transfer of knowledge. [Research report]. Bankok: Chulalongkorn University. [in Thai]
Kanboon, P., & Somnuek, Ch. (2012). Teacher salutation analysis in Chanthaburi Province, [Research report]. Chanthaburi: Rambhai
Barni Rajabhat University. [in Thai]
Mongkolthawat, P., & Ngamluan, S. (2004). Funeral performances (Rumsuod dance) in Trat province. [Research grants]. Office of the
National Culture Commission. [in Thai]
Niroottisart, N. (2008). Pra Ma Lai Chanting: A case study of Narng Ram Nar Sob group at Tharngkwaian subdistrict, Klaeng district,
Rayong province, [Master's thesis]. Bankok: Srinakharinwirot University. [in Thai]