ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถใน การคิดสร้างสรรค์และความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

ณราดล บุตรโสม
พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจี
2) เปรียบเทียบความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจี และ 3) ศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความตระหนักในสิ่งแวดล้อมจากผลงานของนักเรียนหลังเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจี กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เป็นนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 1 ห้องเรียน ในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์จำนวน 3 แผนการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความตระหนักในสิ่งแวดล้อม 4) แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความตระหนักในสิ่งแวดล้อม ผลการดำเนินงานพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความตระหนักในสิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนแสดงออกถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความตระหนักในสิ่งแวดล้อมผ่านผลงานที่สร้างขึ้น โดยนักเรียนสามารถเสนอแนวคิดได้อย่างหลากหลาย สามารถให้รายละเอียดพร้อมบอกประโยชน์การใช้งาน และสามารถบอกข้อจำกัดและบอกแนวทางการพัฒนาผลงานของตนเองได้

Article Details

How to Cite
บุตรโสม ณ., & จันทราอุกฤษฎ์ พ. (2024). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มบีซีจีเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถใน การคิดสร้างสรรค์และความตระหนักในสิ่งแวดล้อมของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(2), 97–109. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/282687
บท
บทความวิจัย

References

Global vision international. (2022). How to cultivate environmental awareness in schools. Retrieved January 10, 2023, from https://www.gvi.co.uk/blog/how-to-cultivate-environmental-awareness-in-schools/.

Hursen, C, et al. (2014). Assessment of creative thinking studies in term of content analysis. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 143. https://doi.org/10.1016/j.sbspro.2014.07.574

International science council. (2020). Sustainable human development means living in harmony with nature. https://council.science/current/blog/sustainable-human-development-means-living-in-harmony-with-nature/.

OECD. (2022). PISA 2022 Creative Thinking. Retrieved 26th January, from https://www.oecd.org/pisa/innovation/creative-thinking/

Ruey-Shyy Shieh, W. C. (2014). OSTERING STUDENT’S CREATIVE AND PROBLEM-SOLVING SKILLS THROUGH A HANDS-ON ACTIVITY. Journal of Baltic science education, 13(5).

Shaafi, N. F., Khalipah, N. N. M., Shafie, N. S., & Salleh, M. F. M. (2021). The infusion of environmental values in science classroom: primary school teachers’ views and practices. Innovative Teaching and Learning Journal, 5(2), 25-39.

ชลธิรา ชาวบ้านกร่าง และคณะ. (2561). การสำรวจความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. รายงานการประชุมนานาชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56, กรุงเทพ.

ชาตรี ฝายคำตา. (2565). ถอดรหัสกิจกรรมสะเต็มศึกษาที่บูรณาการแนวคิดเศรษฐกิจบีซีจี เพื่อเป้าหมายพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน. นิตยสาร สสวท, 50(238), 62.

ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ. (2566). ทักษะการคิดสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566, จาก https://www.gened.nu.ac.th/file/001237LifeSkills/LifeSkills.pdf

ธารินดา เสนาวงศ์ และคณะ. (2564). การรับรู้นโยบายการจัดการชยะพลาสติกและพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของผู้ค้าในตลาดเจริญศรี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15(37), 210-223.

วรรณพร สิงห์บุญ, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์, ดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง สารในชีวิตประจำวัน และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 36(3).

วุฒิชัย ภูดี. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการรวมพลังทำงานเป็นทีมของผู้เรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางของสะเต็มศึกษาแบบ 6E ร่วมกับโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 6(1), 105-119.

ศิริลักษณ์ ชาวลุ่มบัว และสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการแบบ STEM รายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง อ้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์. 26(1), 224-236.

สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (2563). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566, จาก https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/bcg-by-nstda/.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566, จาก http://physics.ipst.ac.th/?page_id=2481

สายรุ้ง ซาวสุภา. (2559). ผลการเรียนรู้แนวคิดเคมีสีเขียวโดยใช้แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านด้วย "โครงการ Green Chem Green Life" ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความตระหนักต่อสิ่งแวดล้อมของนิสิตระดับบัณฑิต. จาก http://cuir.chula.ac.th/dspace/bitstream/123456789/61662/1/Sairoong%20S_Res_2559.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวลาสากล ปี 2563 (IMD2020). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2566, จาก https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1836-file.pdf

สินีนาถ ยาฝาด, สุจินทร์ วิศวธีรานนท์ และ ดวงเดือน พินสุวรรณ์. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 34(1).

สุภาวดี ปกครอง, ภัทราพร เกษสังข์ และ นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์. (2013). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงกลม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(26), 70-80