การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามผ่านภาพเขียนและภาพถ่าย

Main Article Content

สิทธิศักดิ์ จำปาแดง
กล้า ศรีเพชร
เฉลิมวงศ์ ธรรมพิชิตศึก
หวังเจียน หัว
วิศนี ศิลตระกูล
โฆสิต แพงสร้อย
กล้า สมตระกูล

บทคัดย่อ

การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามผ่านภาพเขียนและภาพถ่ายมีวัตถุประสงค์คือ1) เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามผ่านภาพเขียนและภาพถ่าย 2) เพื่อจัดระบบภาพถ่ายทางวัฒนธรรมและบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคาม โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนามด้วยวิธีการสำรวจ  สังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม  กลุ่มตัวอย่างจำนวน 95 คน  ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้จำนวน 20 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 35 คน และกลุ่มทั่วไป จำนวน 40 คน ข้อมูลที่ได้นำวิเคราะห์ตามความมุ่งหมาย เสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์


           ผลการวิจัยพบว่า 1) การบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคามก่อนที่จะมีภาพถ่ายอาศัยการเขียนตามคำบอกเล่าภาพเหตุการณ์ในครั้งอดีต เมืองมหาสารคาม ตั้งในปี 2408 คือเมื่อประมาณ 150 ปีมาแล้ว ตรงกับในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระยาขัติยวงศา (สาร) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด มีใบบอกกราบทูลไปยังกรุงเทพฯ ขอตั้งบ้านลาดกุดยางใหญ่ (นางไย) เป็นเมืองมหาสารคาม ให้ท้าวมหาไชย (กวด) บุตรของอุปฮาดสิงห์ เมืองร้อยเอ็ด เป็นพระเจริญราชเดชวรเชษฐ์ขัติยพงศ์ เจ้าเมืองมหาสารคามคนแรก ให้ท้าวบัวทอง บุตรอุปฮาดภู เป็นอัครฮาด ให้ท้าวไชยวงศา (ฮึง) บุตรพระขัติยวงศ์พิสุทธิบดี (สีลัง) เป็นอัครวงศ์ ให้ท้าวเถื่อน บุตรพระขัติยวงศา (จัน) หลาน พระขัติยวงศา (สุทน) เป็นอัครบุตร ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด โดยตั้งที่ทำการเมืองอยู่ที่หนองกระทุ่ม ด้านเหนือวัดโพธิ์ศรี (วัดมหาชัย)  2) การจัดระบบภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดมหาสารคาม คือได้จัดระบบหมวดหมู่ของภาพไว้ดังนี้ 1) สถานที่สำคัญ 2) ประเพณีความเชื่อ และเทศกาล 3) ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต 4) หัตถกรรม 5) ดนตรีศิลปะการแสดง 6) แหล่งกสิกรรม 7) ทรัพยากรธรรมชาติ 8) สาธารณูปโภค นอกจากนี้นำภาพและเรื่องราวในอดีตมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมผ่านภาพเขียนและภาพถ่าย  จึงเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ไปในตัว

Article Details

How to Cite
จำปาแดง ส., ศรีเพชร ก., ธรรมพิชิตศึก เ., หัว ห., ศิลตระกูล ว., แพงสร้อย โ., & สมตระกูล ก. (2024). การศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดมหาสารคามผ่านภาพเขียนและภาพถ่าย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(2), 71–83. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/282396
บท
บทความวิจัย

References

จารุณี สุขประเสริฐ. (2550). การเปรียบเทียบแนวโนมพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อกลองถ่ายภาพระบบดิจิตอลยี่ห้อ Sony และ Canon ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.

นิยพรรณ วรรศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรี สาริกบุตร. (2552). “ภาพเขียนสีและภาพสลักภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานี” สี และภาพสลักศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.

สกนธ์ ภูงามดี. (2555). การศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

สน สีมาตรัง. (2526). โครงสร้างจิตรกรรมฝาผนังลานนา เล่ม 1- 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาณี ก่อสุวรรณศิริ และสุมิตรา ขันตยาลงกต. (2531). จากอดีตถึงปัจจุบันการถ่ายภาพ. กรุงเทพ : สารมวลชน.

Johnson, H. (1962). Teaching of History. N.Y.: The Macmillan Company.