การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าลายผ้าไหม ของชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ฤทัยภัทร ให้ศิริกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้นำเสนอการประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าลายผ้าไหม ของชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีร่วมกับชุมชน  เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าลายผ้าไหมของชุมชนและการประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าลายผ้าไหมของชุมชน จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษา พบว่า การทอผ้าไหมเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความสำคัญเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ โดยการศึกษาเน้นที่การเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมเข้ากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหม โดยกลุ่มผู้ทอผ้าในแต่ละชุมชนได้พัฒนาลวดลายผ้าไหมที่สะท้อนถึงวิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ และความเชื่อท้องถิ่น การใช้เทคนิคการทอแบบโบราณควบคู่กับการนำแรงบันดาลใจจากธรรมชาติมาปรับปรุงลวดลายทำให้ผ้าไหมมีคุณค่าทางวัฒนธรรมและสามารถแข่งขันในตลาดได้ การวิจัยพบว่าผ้าไหมของชุมชนบุรีรัมย์มีลายที่เป็นเอกลักษณ์และมีการพัฒนาลวดลายใหม่ ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้ชุมชนสามารถรักษาและถ่ายทอดภูมิปัญญานี้สู่คนรุ่นใหม่ผ่านการฝึกอบรมและสร้างศูนย์การเรียนรู้ การส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้นยังช่วยเพิ่มรายได้และส่งเสริมความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของชุมชน

Article Details

How to Cite
ให้ศิริกุล ฤ. (2024). การประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรมกับการสร้างคุณค่าลายผ้าไหม ของชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(2), 51–70. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/282225
บท
บทความวิจัย

References

ชยภรณ บุญเรืองศักดิ์ และ สิริพรบูรณาหิรัณห์. (2567). การยกระดับนวัตกรรมชุมชนสู่การขับเคลื่อนทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์.วารสารศิลปการจัดการ. 8(2);45-62

ณัฐชยา รัตนพันธุ์ โสวัตรี ณ ถลาง และภัทรพรรณ ทำดี. (2566). การพัฒนาสินค้าทางวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาผ้าไหมทอมือบ้านครัวโดยครอบครัวมนูทัศน์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 15(1);1-17.

นลินี ทองประเสริฐ ปิยกนิฏฐ์ โชติวนิชและศุภกัญญา เกษมสุข. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ Premium OTOP ด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 15(1) ;95-108.

เศรษฐา ทวีสิน. (2566). คำแถลงนโยบายนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

Cheng, S. W. (2006). Cultural goods creation, cultural capital formation, provision of cultural services and cultural atmosphere accumulation. Journal of Cultural Economics. 30, 263-286.

Fauteux, B., Dahlman, I., & deWaard, A. (2013). The Cultural Capital Project: Radical monetization of the music industry. IASPM Journal. 3(1), 35-47.

Parameswara, A., & Wulandari, A. (2020). Sustaining local communities through cultural industries based on local wisdom in Tigawasa village. Journal of Sustainable Development. 13(6), 139-150.

Phuangsuwan, P., Siripipatthanakul, S., Praesri, S., Pariwongkhuntorn, N., & Khemapanya, V. (2024). Enhancing Community Economic Sustainability Based On Cultural Capital And Local Wisdom Knowledge Management: A Case Of Klong Maduea, Samut Sakhon. Journal Of Mcu Buddhapanya Review Vol. 9(2), 1-13

Prajnawrdhi, T. A., Karuppannan, S., & Sivam, A. (2015). Preserving cultural heritage of Denpasar: local community perspectives. Procedia Environmental Sciences. 28, 557-566.

Sawatdi, K., Yodmalee, B., & Paengsoi, K. (2013). Thai Silk Pattern: Conservation and Manufacturing Development to Create Added Value in the Province of Khon Kaen. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences. 3(9), 776.

Sullivan, A. (2008). Cultural capital, cultural knowledge and ability. Sociological Research Online, 12(6), 91-104.

Thomas, N. D. (2001). The importance of culture throughout all of life and beyond. Holistic nursing practice. 15(2), 40-46.