การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาเมืองเพชรสู่เชิงพาณิชย์ภายใต้วิถีความปกติใหม่ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ตำบลช่องสะแกจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

เยาวภา อินทเส
ณัฐประภา นุ่มเมือง
จรรยาพร บุญเหลือ
กัลยา ปุญญธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อ และความต้องการรูปแบบการสื่อสารการตลาดดิจิทัล 2) วิเคราะห์ศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาเมืองเพชร 3) พัฒนาตราสินค้าและกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาเมืองเพชรสู่เชิงพาณิชย์ ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรภาครัฐ และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง จำนวน 8 คน ประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาด 2) การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจคุณภาพความเชื่อมั่นกับกลุ่มลูกค้าคาดหวังในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 400 คน ดำเนินการเก็บข้อมูลและประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงตำบลช่องสะแก เป็นแหล่งผลิตและจัดจำหน่ายข้าวเกรียบงาที่เน้นอัตลักษณ์ขนมเมืองเพชร โดยมีวัตถุดิบที่สำคัญคือ น้ำตาลโตนด แป้งข้าวเจ้า มะพร้าวน้ำหอม และงาดำ ลูกค้าส่วนใหญ่เคยซื้อหรือรู้จักข้าวเกรียบงาเมืองเพชรจากหน้าร้าน ซื้อเพราะคุณภาพและวัตถุดิบ ต้องการซื้อผ่านเฟสบุ๊ค เหตุผลที่ซื้อเพราะดูรีวิว บรรจุภัณฑ์ที่ต้องการคือกล่องกระดาษ ความต้องการเครื่องมือสื่อสารการตลาด คือ ส่งเสริมการขายผ่านสื่อดิจิทัล รองลงมา การใช้พนักงานขายผ่านสื่อดิจิทัล และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล ตามลำดับ สร้างตราสินค้าชื่อ “ปันรัก” สโลแกน “อร่อยทุกคำ เพราะทำด้วยใจ” เน้นขายไปยังกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ใช้ช่องทางโซเชียล ซึ่งกลยุทธ์นี้จะช่วยสร้างการรับรู้ตราสินค้าและจุดขายได้เป็นอย่างดี และสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ เพราะสินค้ามีเอกลักษณ์บนฐานความต้องการของชุมชนและลูกค้าเป้าหมาย

Article Details

How to Cite
อินทเส เ., นุ่มเมือง ณ., บุญเหลือ จ., & ปุญญธรรม ก. (2024). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบงาเมืองเพชรสู่เชิงพาณิชย์ภายใต้วิถีความปกติใหม่ กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ตำบลช่องสะแกจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(2), 9–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/279580
บท
บทความวิจัย