การประกอบสร้างความเป็นพลเมืองภายใต้แนวคิดหลังสมัยใหม่: ศึกษากรณีไทยพลัดถิ่นในรัฐไทย

Main Article Content

พศกร โยธินนีรนาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการสถานะความเป็นพลเมืองที่เชื่อมโยงกับแนวคิดหลังสมัยใหม่เพื่อเผยให้เห็นรูปแบบการจัดวางความเป็นพลเมืองผ่านกรณีศึกษาคนไทยพลัดถิ่นของรัฐไทย ผ่านระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการวิจัยทางเอกสาร ควบคู่กับการวิจัยสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มกับกรณีศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และนำไปสู่การตีความและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) ลักษณะความเป็นพลเมืองเป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐไทยกับกระแสอิทธิพลจากภายนอกซึ่งมีบริบททางช่วงเวลาที่ต่างกันโดยชี้ให้เห็นผ่านการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างของรัฐไทย 3 ช่วงเวลา (2) สถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่นเป็นการประกอบสร้างความเป็นพลเมืองที่มีลักษณะเฉพาะต่างจากกลุ่มประเภทอื่น ความเป็นพลเมืองคนไทยพลัดถิ่นยังมีผลด้านลบคือ การถูกปฏิเสธสิทธิขั้นพื้นฐานจากการแขวนสถานะบุคคลไว้ด้วยกระบวนการรับรองความเป็นไทยพลัดถิ่น ตลอดจนบทความนี้มีข้อโต้แย้งว่า ปรากฏการณ์ปัญหาการเข้าถึงสถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่นเกิดขึ้นจากความพยายามไม่ข้ามผ่านรากฐานวิธีคิดแบบรัฐสมัยใหม่ที่แฝงไปด้วยวาทกรรมความมั่นคงของรัฐไทย นอกจากนี้การวิจัยยังเป็นการเปิดมุมมองโดยมุ่งหวังให้เกิดการทบทวนในกระบวนทัศน์ของภูมิทัศน์ความเป็นพลเมืองที่คำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานและความยุติธรรมทางสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จอร์จ วิลเลียม สกินเนอร์. (2548). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคนอื่นๆ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ฐิรวุฒิ เสนาคำ. (2550). ไทยพลัดถิ่นกับข้อจำกัดขององค์ความรู้ว่าด้วยรัฐ-ชาติในสังคมไทย (ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล. (2562). ในปีที่ 47 ของพลเมืองโดยหลักดินแดนที่ถูกทำให้เป็นอื่น Journal of Law and Social Sciences Vol.12 No.2

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2561). อัตลักษณ์เอกสาร วงศาวิทยาการควบคุมประชากรไทยของรัฐไทย. เชียงใหม่: ศุนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พรพิมล ตรีโชติ. (2542). ชนกลุ่มน้อยกับรัฐบาลพม่า. กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภาณุวัฒน์ ปานแก้ว. (2566). โครงการสำรวจจัดทำข้อมูลและข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาด้านสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายของประชากรที่ไม่สามารถเข้าสู้กระบวนการขอรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ และพังงา (รายงานผลการวิจัย). สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ

วรางคณา นิพัทธ์สุขกิจ. (2555). จากอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์. พิมพ์ครั้งที่สอง. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร

Appadurai, A. (1996). Modernity at large: Cultural dimensions of globalization. Minnapolis: Palgrave University of Minnesota Press

Chantavanich, S. (1997). From Siamese-Chinese to Chinese-Thai: Political Conditions and Identity Shifts among the Chinese in Thailand. Ethnic Chinese as Southeast Asians. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies

Giddens, A. (1999). Runaway world: How globalization is reshaping our lives. London : Profile Books

Harvey, David. (c1989). The condition of postmodernity: an enquiry into the origins of cultural change. Oxford : Basil Blackwell

Holton, R. (2011). Globalization and the nation state (second edition). New York: Palgrave Macmilan

Ohmae, K. (1995). The end of the nation state : the rise of regional economies. New York : Free Press

Winichakul, T. (1994). Siam mapped: A History of the Gro-Body of nation. Honolulu : University of Hawaii Press