บทบาทของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

อรรถพจน์ บัวงาม
สิทธิโชค ลางคุลานนท์
นลินา ไชยะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค ของผู้สูงอายุในการมีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตในองค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ ตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้การศึกษาเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) จากการเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) พบว่า


  1. นโยบายระดับท้องถิ่นที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในด้านของการส่งเสริมคุณภาพชีวิต การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทิดทูนพิทักษ์รักษาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งโครงการหลักๆ จะเกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการ การดูแลผู้สูงอายุรวมไปถึงการพัฒนาทางด้านจิตใจ ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีการตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนในการดำเนินงานและการรายงานผลการดำเนินงาน

  2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทของผู้สูงอายุที่เข้ามามีส่วนร่วมนโยบายท้องถิ่นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต พบว่า 1) เกี่ยวข้องกับปัจจัยของประชากรแฝงคือผู้สูงอายุมิได้อยู่ในพื้นที่ในการให้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ แต่ยังคงมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ 2) ความพร้อมทางด้านฐานะของผู้สูงอายุที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้การมีความพร้อมทางด้านทรัพย์สินไม่ต้องพึ่งพิงหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ 3) ภาวะทางใจที่มีความผูกพันกับถิ่นที่อยู่อาศัย 4) ความพร้อมของสถานที่ในการให้บริการ ที่ยังอาจมีข้อจำกัดของความเพียงพอในการรับบริการของผู้สูงอายุ หรือการจัดทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยระยะเวลาต่อเนื่อง ความพร้อมในเชิงสถานที่ 5) ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ด้วยตัวเอง ผู้สูงอายุบางรายต้องมีลูกหลานมาส่งต้องมีคนมารับ กลายเป็นประเด็นปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการกิจกรรมต่างๆ

 


คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, นโยบายท้องถิ่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. 2551. การปกครองท้องถิ่นไทย. บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ทจำกัด:

กรุงเทพฯ

ฉมานันท์ แก้วอินต๊ะ. 2556. ความล้มเหลวและปัญหา อุปสรรค ของการนำแผน

ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1พ.ศ.

ไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน.

วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(4), 66-76

วุฒิสาร ตันไชย. 2552. ยุทธศาสตร์การปกครองท้องถิ่น. บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด:

กรุงเทพฯ

ศรีสุดา มีชำนาญ. 2563. การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับ

สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 10 (3), 149-160

เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. 2555. นโยบายการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารัฐศาสตร์

และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 1(1), 146-165