ปูรณะธัญกา : การถอดรหัสหมายจากภาพจำหลักปราสาทหินพนมรุ้ง สู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องปูรณะธัญกา : การถอดรหัสหมายจากภาพจำหลักปราสาทหินพนมรุ้งสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาพจำหลัก “พิธีปูรณะธัญกา”ที่มุขซุ้มประตูปราสาทประธานของปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยจากการศึกษาภาพจำหลัก “พิธีปูรณะธัญกา” ของปราสาทหินพนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต และการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และประชาชนทั่วไป แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการสรุปอภิปรายผลในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษา พบว่า ภาพจำหลักพิธีปูรณะธัญกา หรือ “พิธีหว่านธัญพืชมงคล” คือ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่จารึกร่องรอยทางคติความเชื่อ ประเพณี วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในยุควัฒนธรรมขอมโบราณ อันเป็นต้นแบบทางความเชื่อของการมีหลักประกันความอุดมสมบูรณ์ในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลการทำเกษตรกรรมของมนุษย์ไม่ว่ายุคใดสมัยใด นำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่แสดงออกถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมและสามารถสะท้อนความเป็นปัจจุบัน โดยการถอดรหัสหมายและตีความหมายจากภาพต้นแบบการเลียนแบบท่าทาง และองค์ประกอบของภาพ ผ่านทฤษฎีการสร้างสรรค์นาฏกรรม 10 ขั้นตอน โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 มนตราวนัมรุง ช่วงที่ 2 ศรัทธา และช่วงที่ 3 ปูรณะธัญกา อันสะท้อนให้เห็นแนวคิดในการนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาประกอบสร้างผสมผสานศาสตร์ทางด้านนาฏกรรม เพื่อให้เกิดต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น เชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดเศรษฐกิจในชุมชนและเป็นการอนุรักษ์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมความเชื่ออันเป็นปฐมเหตุของพิธีแรกนาขวัญให้คงอยู่คู่ชุมชนสังคม และประเทศชาติสืบไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2548).การวิจัยทางศิลปะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ชนิดา จันทร์งาม. (2561).การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของสตรีอีสานผ่านการชมหนังกลางแปลง.
วิทยานิพนธ์.
ดารณี จันทมิไซย. (2563).ฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์. ลพบุรี: โรงพิมพ์นาฏดุริยางค์.
ธัญญนันท์ เนาวรัตน์. (2565). เทวะ ภูพระอังคาร : การสร้างสรรค์นาฏกรรมร่วมสมัยจากใบเสมา วัดเขาอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์.
มณิศา วศินารมย์. (2565). อำนาจ วัฒนธรรม: รำวงมาตรฐาน. วิพิธพัฒนศิลป์.
รักษ์สินี อัครศวะเมฆ. (2563). นาฏศิลป์กับการประยุกต์อุปกรณ์ตามแนวคิดหลังสมัยใหม่.บทความวิจัย
วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2556).ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายใน.กรุงเทพฯ : จูน พับลิชชิ่ง.
วรณัย พงศาชลากร. (2560).ปูรณะธัญกาแรกนาขวัญที่ปราสาทพนมรุ้ง.สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2566,
จาก https://www.oknation.net/post/detail.
ศักย์กวิน ศิริวัฒนกุล. (2565). การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ในนิทรรศการ “108 พันก้าว”ครบรอบ 108 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย.
ศิริมงคล นาฏยกุล. (2557).นาฏยศิลป์ตะวันตกปริทัศน์.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุขสันติ แวงวรรณ. (2565). การสร้างสรรค์งานทางนาฏศิลป์.ขอนแก่น : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์. (2549). ปราสาทเขาพนมรุ้งศาสนบรรบตที่งดงามที่สุดในประเทศไทย. สมุทรปราการ : สนพ.เรือนบุญ
Sandry Cerny Minton. (1997).Choreography: A Basic Approach Using Improvisation. Human Kinetics.