การสร้างมูลค่าและคุณค่าของเศษวัสดุจากป่าชุมชนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2) การสร้างมูลค่าและคุณค่าจากเศษวัสดุป่าชุมชนตำบลโคกกลาง และ 3) ประเมินมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชนจากเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แผนที่แสดงความคิด แบบสอบถาม การสังเกต ประเด็นคำถาม และบัตรคำ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบเชิงพรรณนา และค่าสถิติ
ผลการศึกษา พบว่า มีผู้ผลิตงานหัตถกรรมในชุมชน งานทอผ้า งานทอเสื่อ งานไม้ และงานจักสาน จำนวน 181 ทอเสื่อกกมากที่สุด 86 ราย คิดเป็นร้อยละ 47.51 ผลการสำรวจชนิดพันธุ์พืชและเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง พบว่า สภาพป่าชุมชนส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ไม่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่ละส่วนของป่าจะมีพันธุ์ไม้ที่แตกต่างกัน พันธุ์ไม้ที่พบ คือ ไม้แดง ไม้พลวง ไม้เต็ง ไม้สะแบง ไม้สะเดา ไม้ประดู่ ไม้มะเหลื่อม และไม้ติ้ว เศษวัสดุในป่าชุมชนโคกกลาง พบว่า ในระยะพื้นที่ประมาณ 1 ไร่จะมีต้นไม้ที่ยืนต้นตายอยู่ประมาณ 2-3 ต้น มีใบไม้ ผลไม้ป่า ดอกไม้ป่า เช่น ดอกมันกลอยแห้ง ผลปอขี้ตุ่น ลูกระเวียง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งงานวิจัยนี้ได้นำวัสดุเหล่านี้ มาสร้างมูลค่าและคุณค่า เพราะไม่กระทบต่อต้นไม้ในป่าชุมชน ผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุในป่าชุมชน พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับวัสดุจากป่า คือ กรอบรูป พวงกุญแจ และโมมาย และผลการคัดเลือกแบบ พบว่า พวงกุญแจ แบบที่ 3 มีคะแนนสูงสุด ( =4.63) กรอบรูป แบบที่ 2 มีคะแนนสูงสุด ( =4.62) และโมบาย แบบที่ 2 มีคะแนนสูงสุด ( =4.63) ผลการประเมินมูลค่าและคุณค่าผลิตภัณฑ์จากเศษวัสดุในป่าชุมชนตำบลโคกกลาง พบว่า โมบายได้รับความคิดเห็นถึงมูลค่าและคุณค่าทางด้านจิตใจ มากที่สุด มีคะแนน ( =17.87) รองลงมาคือ พวงกุญแจ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 17.16 และกรอบรูป มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 16.12
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
นิวัติ เรืองแก้ว (2537). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : รั้วเขียว วี บี บุ๊คเซนเตอร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ :
สำนักทดสอบทางการศึกษาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พอล เจ โกรดิ และคณะ. (2556). ความหลากหลายของพรรณพืช โครงสร้างป่าและปริมาณคาร์บอนเหนือ
พื้นดิน ในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช อพ.สธ. เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร และในพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา. (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
วรสุดา ขวัญสุวรรณและสาทินี วัฒนกิจ. (2563). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งสู่ผลิตภัณฑ์
ออกแบบตกแต่งและแฟชั่น : ชุมชนต้นแบบเทศบาลเมืองเขารูปช้าง. (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
สาคร คันธโชติ. (2528). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
สุวรรณ และเพ็ญพักตร์ ลิ้มสัมพันธ์. (2541). งานผลิตภัณฑ์จากวัสดุท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.