การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

นงคาร แสงโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)  เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การลงพื้นที่ภาคสนาม จัดเวทีร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า เกิดพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี 3 ประการ ได้แก่ 1. พัฒนากลไกด้านบุคคล ฝึกอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้กับพ่อแม่อาสา  คือ คนที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครในการดูแล ติดตามเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในตำบลเหล่าเสือโก้ก ได้แก่ คัดเลือกอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ข้าราชครูการเกษียณ ครูศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์ เป็นต้น 2. เกิดพัฒนากลไกสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1. ภาครัฐ คือ เทศบาลตำบลเหล่าเสือโก้ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเป้า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอเหล่าเสือโก้ก โรงพยาบาลเหล่าเสือโก้ก  ศูนย์อนามัยที่ 10 2. ภาคประชาสังคม คือ มูลนิธิประชาสังคม 3. ภาคประชาชน ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน 3. เกิดพัฒนากลไกด้านการจัดการ 2 ประการ ได้แก่ 1. เกิดคณะทำงานเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย 2. ธรรมนูญสุขภาพชุมชน


            การวิจัยนี้ถือได้ว่าเป็นการกระจายอำนาจไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มอำนาจให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรของตนเอง ส่งเสริมกระจายอำนาจไปยังหน่วยงานระดับตำบลทำให้การบริการและการพัฒนาเป็นไปอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตอบสนองความต้องการของประชาชนทำให้งานบริการและการพัฒนามีประสิทธิภาพมากขึ้น  

Article Details

How to Cite
แสงโชติ น. (2024). การพัฒนากลไกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น, 19(1), 9–22. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/RDIBRU/article/view/275009
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย : Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ชรินทร์พร มะชะรา พรทิพย์ กกฝ้าย สุกัญญา ฆารสินธุ์ สังคม ศุภรัตนกุล และดวงพร แสงสุวรรณ. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของผู้ดูแลและพัฒนาการด้านภาษาของเด็กอายุ 2-5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 15 (38) ; 574-587.

คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๐.กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

เศรษฐา ทวีสิน. (2566). คำแถลงนโยบายนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภาของคณะรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.

สิทธิพงศ์ ปาปะกัง. (2565). บทบาทของผู้ปกครองในการประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือ DSPM.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 19(2) ;176-185

อัจฉรา ผาดโผน วรพจน์ พรหมสัตยพรต และ รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. (2562). การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 5 (1);121-138.

Boyd, D. R. (2012). The right to a healthy environment: Revitalizing Canada's constitution. UBC Press.

Butterfoss, F. D. (2007). Coalitions and partnerships in community health. John Wiley & Sons.

Irwin, L. G., Siddiqi, A., & Hertzman, G. (2007). Early child development: A powerful equalizer. Vancouver, BC: Human Early Learning Partnership (HELP).

Li, J. (2021). Development of BRICS cooperation mechanism in new geopolitical conditions. In Proceedings of Topical Issues in International Political Geography (pp. 303-312). Springer International Publishing.

Nores, M., & Fernandez, C. (2018). Building capacity in health and education systems to deliver interventions that strengthen early child development. Annals of the New York Academy of Sciences, 1419(1), 57-73.

Ruger, J. P. (2020). A healthy constitution. RSA Journal, 166(2 (5582), 10-15.