ส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ Marketing Mix 4P's Affectก Purchasing Decision Standard Vegetables GAP Combined Agriculture Project of Consumers in The Happy Agricultural Market Buriram Rajabhat University

Main Article Content

Ekapon Sangsri

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนผสมทางการตลาด 4P’s ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผักมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม คัดเลือกจากผู้ที่เคยเข้ามาใช้บริการในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยทีมผู้วิจัยได้มีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ (1973) ความคลาดเคลื่อนที่ผู้วิจัยยอมรับได้เท่ากับ 5% ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 385 คน


          ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และส่วนใหญ่เป็นพนักงานของรัฐ มีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 15,001 ถึง 30,000 บาท ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อตามวัตถุประสงค์ที่ซื้อโดยคำนึงถึงสุขภาพของตนและคนในครอบครัวความถี่ในการซื้อ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งที่ซื้อใช้เงินโดยเฉลี่ย 60-100 บาท กลุ่มบุคคลอ้างอิงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ คือความชอบของคนในครอบครัวเป็นหลักประเภทผักที่นิยมบริโภคมากที่ สุด 7 ลำดับ ได้แก่ คะน้า มะเขือเปราะ แตงกวา ถั่วฝักยาว พริก ต้นหอม และผักชี เมื่อพิจารณาส่วนผสมทางการตลาด 4P’s โดยเรียงลำดับตามปัจจัยที่มีอิทธิพลมากไปหาน้อย พบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดด้านราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราคาต้องเหมาะสมกับคุณภาพ ลำดับรองลงมาผู้บริโภคให้ความสำคัญในระดับมาก เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งมี 2 ปัจจัยหลักคือพื้นที่และสถานที่ต้องปลอดภัย และมีการจัดเรียงสินค้าเป็นหมวดหมู่ ลำดับที่ 3 คือด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก จะต้องมีการจัดการส่งเสริมการตลาด  ลด แลก แจก แถม และ ลำดับสุดท้ายของส่วนผสมทางการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผักตามมาตรฐาน GAP จากโครงการเกษตรแปลงรวมแก้จน ของผู้บริโภคในตลาดเกษตรสร้างสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ คือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้บริโภคให้ความสำคัญในการตัดสินใจจากมาตรฐานการรับรองคุณภาพที่ได้รับรองว่าเป็นผักปลอดภัยตามมาตรฐาน GAP  อย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วชิระ น้อยนารถ; และคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเกษตรปลอดสารพิษของผู้บริโภคร้านโกลเด้น เพลซ สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. หน้า 136-145.

นิต ยา วงศ์ ยศ. (2021). ปัจจัย ที่ มี ผล ต่อ การ ตัดสินใจ ซื้อ ผัก ปลอด สาร พิษ ของ ผู้ บริโภค ใน ตลาด เกษตร จังหวัด พะเยา. วารสาร มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เอเชีย อาคเนย์, 5(1), 133-145.

Praneetvatakul, S., & Vijitsrikamol, K. (2020). ผลลัพธ์ และ ผล กระทบ ของ งาน วิจัย ด้าน ปาล์ม น้ำมัน ใน ประเทศไทย และ กรณี ศึกษา. Journal of the Association of Researchers, 24(2), 172-184.Buddhahun, S. (2023). ฉบับ สมบูรณ์ (Full text). Ramkhamhaeng Journal of Public Administration, 6(1)

Khalfa, M., Oueslati, A., Khirouni, K., Gargouri, M., Rousseau, A., Bardeau, J. F., & Corbel, G. (2023). Structural phase transitions in [(CH3) 4P] 3M2Cl9 (M= Bi and Sb) hybrid compounds revealed by temperature-controlled Raman spectroscopy and X-ray diffraction. Journal of Physics and Chemistry of Solids, 111227.

Nhung, N. T., & Linh, A. T. D. MARKETING IMPLICATIONS FOR ORGANIC FOOD PRODUCTS: AN EMPRICAL RESEARCH IN THAI NGUYEN CITY, VIETNAM.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis-3.