เมืองกีฬา : การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2554 – 2565 พื้นที่วิจัย คือ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ภาพถ่าย วีดีทัศน์ การสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ 3 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 5 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง และนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ.2554 – 2565 อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านสังคม ลักษณะทางสังคมสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป มีการพัฒนาเส้นทางคมนาคม โรงแรม ที่พัก คอนโด คาเฟ่ รวมทั้งร้านอาหาร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาชมกีฬาและกิจกรรมต่างๆ ของจังหวัดบุรีรัมย์ในทุกเดือน นอกจากลักษณะทางสังคมแล้วยังส่งผลให้วิถีชีวิตของคนบุรีรัมย์เกิดอาชีพใหม่และรายได้ที่เพิ่มขึ้น 2) ด้านวัฒนธรรม มีการนำมรดกท้องถิ่นมาปรับประยุกต์ใช้กับลายเสื้อกีฬาของสโมสรฟุตบอลและทำให้เกิดค่านิยมการแต่งกายแบบใหม่ของคนบุรีรัมย์ 3) ด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการลงทุนทำธุรกิจและสถานประกอบการต่างๆ เพื่อบริการการท่องเที่ยวส่งผลให้รายได้ของจังหวัดเพิ่มมากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื่อหาและข้อมูลในบทความ เป็นความรับผิดชอบของผุ้แต่ง
บทความในวารสารเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจัยและนวัตกรรมท้องถิ่น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2560. แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 - 2564). กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
ครอบครัวชิดชอบ. 2559. ประวัติศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์และข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญของบุรีรัมย์. In บุรีรัมย์ ที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ละออง ชิดชอบ.
ดำรงศักดิ์ แก้วเพ็ง. 2556. ชุมชน. สงขลา:ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยทักษิณ.
ไทยรัฐสปอร์ต. 2561. 6 จังหวัดได้เป็นต้นแบบเมืองกีฬา ภาครัฐร่วมผลักดันเต็มที่. เว็บไซต์. https://www.Thairath.Co.Th/Sport/Others/1337861. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2565.
พัชรีรัต หารไชย และมนสิชา เพชรานนท์. 2562. การรับรู้อัตลักษณ์ถิ่นบุรีรัมย์ของคนในและคนนอก พื้นที่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.
ยุทธพงษ์ ต้นประดู่ สาวิตร พงศ์วัชร์และนพศักดิ์ นาคเสนา. 2565. การศึกษารูปแบบการพัฒนา กาบชกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดอันดามัน. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : มกราคม -มิถุนายน 2565. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธพงษ์ ต้นประดู่. 2562. มานิกลุ่มคนชายขอบ : การประยุกต์สู่งานแสดงเชียร์ลีดเดอร์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มิถุนายน 2562. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
สภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์. 2555. บุรีรัมย์ ภูมิหลังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ที.เค.พริ้นติ้ง 2555.
Wiese, Leopold Von. 1956. The Sociology Study of Social Change. Transaction of
The Third World Congress of Sociology, Amsterdam : International Sociological
Association, อ้างถึงในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2538). เอกสารการสอนชุดวิชา
มนุษย์กับสังคม หน่วยที่ 1-7. ปรับปรุงครั้งที่ 1. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.