การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนสำหรับ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ learning resources classroom environment special education center

Main Article Content

วิชญาพร อ่อนปุย

บทคัดย่อ

             ผลการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาแหล่งเรียนรู้ปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ 2)ออกแบบและดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ 3) ประเมินผลการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน ประจำศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์  4)ประเมินองค์ความรู้นักศึกษาหลังได้รับทักษะการจัดแหล่งเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียนสำหรับศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ หน่วยบริการเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ทั้งสิ้น 48 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ


              ผลพบว่า 1)การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งเรียนรู้และการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยรวมพบว่า 1.ต้องการพัฒนา 2 ห้องคือ ห้องสติปัญญา ใช้แนวคิดการจัดตามแนวคิด มอนเตสซอรี และห้องร่างกาย โดยใช้แนวการจัดการเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 2)ผลการออกแบบและการดำเนินการ มีกระบวนการ ดังนี้ 1.จัดอบรมให้แก่นักศึกษา 2.วิเคราะห์ความต้องการจัดสภาพแวดล้อม 3.ออกแบบแหล่งเรียนรู้ โดยมีผลการประเมิน ภาพรวมมีผลระดับมากที่สุด (=5.00 S.D=0.00) โดยเสนอแนะอยากให้มีกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อประโยชน์แก่เด็ก และ 4.ดำเนินการจัดสภาพแวดล้อมตามแผนที่ออกแบบ โดยผลการประเมินความพึงพอใจ หลังการจัดแหล่งเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.97,S.D=0.04) 3)ผลการประเมินองค์ความรู้ ความพึงพอใจของนักศึกษาพบว่า 1.ผลการตอบแบบสอบถาม  วิเคราะห์ผลจากการตอบคำถาม นักศึกษามีความเข้าใจมากขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม 4)ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาหลังได้รับการจัดกิจกรรม พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51,S.D=0.14)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). เด็กพิเศษ : ดูแลด้วยความรัก พัฒนาความด้วยเข้าใจ. สืบค้นจาก

http://www.happyhomeclinic.com/specialeducation.htm. วันที่ 20 กันยายน 2565.

นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม,11 (1), 21-33.

เบญจวรรณ ระตา. (2551). การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนเทศบาล

ดอก เงิน จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2560). คู่มือการจัดการเรียนการสอน กระบวนการคิดเชิง

ออกแบบ (Design Thinking). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

วีซานา อับดุลเลาะ และวุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะ

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21“แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 7 (3), 227-246.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2558). คู่มือหลักสูตรสาหรับเด็กที่มีความต้องการจาเป็นพิเศษระยะ

แรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช ๒๕๕๘. กรุงเทพ. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Billur Çakırer. (2010). A qualitative study on play corners: comparison of a semi-privatepre

reschool and a public preschool in Catalonia, Spain. Procedia Social and Behavioral Sciences, 590–594.